หน่วยที่3

 การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
สื่อการเรียนการสอนเป็นสิ่งสำคัญส่วนหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนให้เกิดความเข้าใจในบทเรียน และช่วยเร้าความสนใจของนักเรียนให้เรียนหนังสือ ดังนั้นสื่อการเรียนการสอนจึงเป็นสิ่งจำเป็นส่วนหนึ่งที่ผู้สอนควรให้ความเอาใจใส่ พิถีพิถันในการเลือกให้เหมาะแก่ผู้เรียน หรือสภาพแวดล้อมของสถานที่เรียน ลำดับแรกผู้เขียนขอนำเสนอความหมาย  ความสำคัญ ประโยชน์ และประเภทของสื่อการเรียนการสอนก่อน ก่อนที่จะนำเข้าสู่วิธีการเลือกสื่อใช้สื่อการเรียนการสอน

ความหมาย ของสื่อการเรียนการสอน
 สื่อ (Media) หมายถึง สิ่งของหรือคนที่ทำให้มีการติดต่อถึงกัน ชักนำให้รู้จักกัน
              สื่อ หมายถึง   ชักนำให้รู้จักกัน ทำการติดต่อถึงกัน
              สื่อ หมายถึง   วิธีการลงรหัสและถอดรหัสข่าวสาร
              สื่อ หมายถึง    ตัวกลางนำข่าว หรือ นำพาหนะนั้นไป
                สื่อ หมายถึง    ช่องทางข่าวสาร (Channel) รวมคำพูด ตัวอักษร และอื่นๆ
กล่าวโดยสรุป สื่อ หมายถึง ตัวกลางที่ทำให้ผู้ส่งสารกับผู้รับสารได้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน
สำหรับ สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางที่จะทำให้ผู้สอนบรรลุวัตถุประสงค์ในการส่งข่าวสาร ข้อมูลความรู้ทางด้านการศึกษา ไปยังผู้เรียนโดยเน้นเนื้อกาอันเป็นความรู้ ตามหลักสูตรหรือกิจกรรม เพื่อส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียนอย่างเต็มที่

ความสำคัญของสื่อการสอน    
                1. ช่วยให้นักเรียนเกิดความสนใจ อยากรู้อยากเห็นมากขึ้น
                2. ช่วยให้นักเรียนมีประสบการณ์มากขึ้น
                3. ช่วยให้แก้ปัญหาในการเรียนการสอน
                4. ช่วยให้เข้าใจความหมายที่ต้องการสื่อได้ตรงกัน
                5. ช่วยลดเวลาการสอน เพิ่มเนื้อหาวิชาขึ้น
                6. ช่วยให้เกิดความพึงพอใจในการเรียน
                7. ช่วยขจัดการเรียนรู้สิ่งที่มีข้อจำกัด เช่น
                                - ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลง
                                - ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวช้าให้เร็วขึ้น
                                - ทำสิ่งที่เป็นอดีตมาศึกษาในปัจจุบัน
                                - ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
                                - ทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม
                8. ช่วยให้จำเนื้อหาบทเรียนได้ดี
                9. ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น
                10. ช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

ประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน  
1. ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น เพราะสามารถหยิบได้ จับได้ มองเห็นได้ สัมผัสได้
2. ช่วยให้เรียนรู้ได้เร็วภายในเวลาอันสั้น ไม่ต้องเสียเวลาอธิบายมาก ผู้เรียนเห็นสื่อก็สามารถเข้าใจได้ทันที
3. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจร่วมปฏิบัติกิจกรรมการเรียนมากกว่าการเรียนการสอนที่ให้นักเรียนนั่งฟังเฉยๆ
4. ช่วยให้จดจำง่าย เพราะแลเห็นด้วยตา สัมผัสด้วยผิวกาย ไม่ว่าจะเป็นจริงหรือของจำลอง ล้วนช่วยให้ผู้เรียนจดจำได้ดีขึ้น
5. ช่วยให้เข้าใจสิ่งที่ยากได้ง่าย เพราะมีวัสดุอุปกรณ์เตรียมพร้อม ช่วยทำให้เกิดความเข้าใจสิ่งที่ยากและเสียเวลาเรียนรู้นาน มาเป็นเข้าใจได้ง่ายขึ้น

ลักษณะสื่อที่ดี    
1. เหมาะกับวัตถุประสงค์ที่วางไว้ สามารถนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี สนองความต้องการได้ตรงตามวัตถุประสงค์เบื้องต้น
2. เหมาะกับวัยของผู้เรียน
3. เหมาะกับกิจกรรมการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนจะต้องคำนึงถึงสื่อเสมอ ว่าใครเป็นผู้ใช้ ถ้าครูสาธิตให้นักเรียนชมสื่อที่เป็นวัสดุจำพวกแก้ว สามารถใช้ได้ แต่ถ้านักเรียนลงมือปฏิบัติ สื่อต้องเปลี่ยนเป็นพลาสติกหรือวัสดุอื่นที่ไม่แตกหักง่าย
4. ใช้ง่าย ปลอดภัยและสะดวก ลักษณะของสื่อควรมีขนาดพอเหมะ ไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป สร้างความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ ทั้งยังสะดวกในการใช้และการเก็บรักษาด้วย
5. ไม่สิ้นเปลืองและคุ้มค่า

ประเภทของสื่อการสอน
                สื่อการสอนแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท    ในที่นี้ผู้เขียนจะยกตัวอย่างเพียงสองประเภท คือ การแบ่งตามลักษณะทั่วไปและการแบ่งตามลักษณะของการใช้
                การแบ่งตามลักษณะทั่วไป  สื่อที่ใช้ในวงการศึกษามีด้วยกันหลายชนิด หลายประเภท เพื่อความสะดวกในการจัดประเภท จึงแบ่งตามลักษณะได้ 3 ลักษณะ คือ
                1. ประเภทเครื่องมือ (HardWare)
                    ประเภทเครื่องมือหรืออุปกรณ์ ที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น เช่น เครื่องเสียง วิทยุ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายข้ามศีรษะ (Over Head)
               

2. ประเภทวัสดุ (Software)
                    ประเภทวัสดุเป็นสื่อที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง สามารถหยิบนำมาใช้ได้ทันที บางชนิดใช้บรรจุข้อมูลรายการต่างๆไว้ เวลาใช้ต้องนำไปใช้กับเครื่องมือเฉพาะอย่างจึงจะเกิดผล สื่อประเภทนี้  เช่น แผ่นดิสก์ ต้องใช้คู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เทปคาสเซ็ท ต้องใช้ควบคู่กับวิทยุเทป  แผ่นใส ต้องใช้คู่กับโอเวอร์เฮ็ด เป็นต้น สำหรับวัสดุที่ใช้ได้ทันที ได้แก่ ของจริง สิ่งจำลอง รูปภาพ ป้านนิเทศ บัตรคำ แผนที่ หนังสือ เป็นต้น
                3. ประเภทวิธีการ (Techniques)
                    ประเภทวิธีการหรือเทคนิค เป็นประสบการณ์ทำกิจกรรมที่รวมเอาประเภทที่ 1 เครื่องมือ และ ประเภทที่ 2 วัสดุ มาใช้ร่วมกับการดำเนินการ โดนเน้นวิธีการเป็นสำคัญ เช่น สาธิตการทำขนม การประดิษฐ์สิ่งของจากเศษวัสดุ วิธีการวาดภาพ การจัดนิทรรศการ การจัดประกวด เป็นต้น

การแบ่งสื่อตามลักษณะของการใช้     
                การแบ่งสื่ออีกแบบหนึ่งตามลักษณะการใช้สื่อ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
                1. Presentation Media
                    สื่อในกลุ่มนี้ทำหน้าที่ในการแสดงข้อมูล ซึ่งผู้รับข้อมูลสามารถเรียนรู้ได้จากเสียงและภาพ กระบวนการ เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ที่นำเสนอนั้นเป็นการแสดงต่อผู้รับสารโดยตรง โดยผ่านทางวัสดุ เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสารทางไกล สื่อประเภทนี้แบ่งได้เป็น 7 พวกใหญ่ๆ
คือ   พวกที่ 1 วัสดุกราฟฟิค สิ่งพิมพ์ และภาพนิ่ง ถึงแม้ว่ารูปแบบขอสื่อทั้ง 3 อย่างนี้จะดูแตกต่างกันก็ตาม กล่าวคือสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับสัญลักษณ์ซึ่งเป็นตัวหนังและตัวเลข วัสดุกราฟฟิคทำโดยกระบวนการเขียนและภาพนิ่ง ได้มาจากกระบวนการทางการถ่ายภาพ แต่ก็ไม่สามารถจัดกลุ่มอยู่ในพวกเดียวกันได้เพราะว่าสื่อเหล่านี้ต่างก็มีรูปแบบการเสนอที่เหมือนกัน คือมีลักษณะภาพนิ่งและสามารถเห็นได้โดยตรง นอกจากนี้ ส่วนมากก็ถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบร่วมกันเช่นหนังสือ วัสดุที่นำมาแสดงตั้งแต่แผ่นโปสเตอร์ไปจนถึงหนังสือเรียน
                พวกที่ 2 สื่อประเภทภาพฉายนิ่ง (Still-Projection Media) ในกลุ่มนี้รวมเอาสไลด์ ฟิล์มสตริป แผ่นโปรงใส ภาพทึบแสง และวัสดุฉายที่เป็นภาพนิ่งเข้าไปไว้ด้วย ทั้งเป็นวัสดุทึบแสงหรือโปร่งแสงซึ่งสามารถจะนำเสนอข้อมูลออกเป็นรูปแบบ 3 อย่างคือ รูปภาพ สิ่งพิมพ์ และกราฟฟิคคลายเส้น
                พวกที่ 3 สื่อเสียง (Audio Media) สื่อเสียงนี้เป็นการนำเสนอรูปแบบของเสียงที่ใช้อยู่โดยทั่วไป คือเทปบันทึกเสียงและแผ่นเสียง ทั้งสองชนิดนี้เป็นสื่อที่สามารถเล่นกลับได้ นอกจากนี้ยังมีสื่ออีกสองชนิดที่ส่งผ่านทางการสื่อสารระยะไกลซึ่งใช้ในบางระดับของการศึกษาคือวิทยุและโทรทัศน์ วิทยุมีประวัติในการใช้ทางการศึกษามายาวนาน ในขณะที่โทรทัศน์เพิ่งจะเริ่มนำมาใช้ในการสอนระยะไกลหรือขยายขอบข่ายของผู้เรียนให้มีจำนวนเพิ่มขึ้น
                พวกที่ 4 สื่อเสียงรวมกับสื่อภาพนิ่ง (Audio Plus Still-Visual Media) สื่อประเภทนี้เป็นอาการรวมบันทึกเสียงและทัศนวัสดุนิ่งเข้าด้วยกัน อย่างหนึ่งก็คือสไลด์หรือฟิล์มสตริปที่ใช้ในระบบซิงโครไนซ์กับเทปบันทึกเสียง โดยให้เทปบันทึกเสียงทำหน้าที่ควบคุมเครื่องฉายสไลด์และสื่อในรูปแบบอื่น เช่น สื่อเสียงกับหนังสือที่เรียกว่า Sound Page หรือ Sound Book โดยฉาบสารแม่เหล็กบนแผ่นการ์ด หรือบนหน้ากระดาษซึ่งมีมาพร้อมกับวัสดุอื่นๆ
                พวกที่ 5 ภาพยนตร์ สื่อประเภท Presentation Media เครื่องฉายภาพยนตร์และโทรทัศน์ ซึ่งสามารถนำเสนอรูปแบบได้ทั้ง 5 รูปแบบ ยกเว้นภาพยนตร์เงียบ ซึ่งไม่สามารถนำเสนอเสียงได้ ขนาดของภาพยนตร์ที่ใช้ในการศึกษามี 16 ม.ม. 8 ม.ม. และซุปเปอร์ 8 ม.ม. ซึ่งเห็นภาพเคลื่อนไหวได้
                พวกที่ 6 โทรทัศน์ มีลักษณะเป็นการนำเสนอภาพเคลื่อนไหวเหมือนกับภาพยนตร์ ต่างกันที่มีการบันทึกภาพถ่ายทอดและฉายภาพด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นจึงมีความต่างจากภาพยนตร์ที่ลักษณะการผลิตและการส่งผ่านโทรทัศน์ มีการใช้ในหลายรูปแบบคือการถ่ายทอดออกอากาศ โทรทัศน์วงจรปิด และโทรทัศน์ตามสาย
                พวกที่ 7 สื่อผสม เนื่องจากเราสามารถใช้สื่อหลายๆอย่างผสมกันได้หลายๆวิธี จึงได้จัดสื่อนี้ไว้อีกประเภทหนึ่ง อาจทำการฉายภาพด้วยเครื่องฉายหลายๆเครื่องพร้อมกัน เครื่องฉายกำลังสูงๆจนกระทั่งสามารถนำมาใช้กับการนำเสนอในห้องประชุมขนาดใหญ่ได้ การใช้สื่อแบบนี้มิเพียงแต่ในสถาบันการศึกษาเท่านั้น แต่ได้นำไปใช้ในงานแสดงสินค้าขนาดใหญ่ด้วย
                2. Object Media
                เป็นสื่ออีกประเภทหนึ่งซึ่งมีลักษณะแตกต่างไปจาก Presentation Media ซึ่งมีโครงสร้างทางขนาด น้ำหนัก รูปร่าง มวล สี พื้นผิวที่มีความสัมพันธ์กันเป็นวัสดุ 3 มิติ ซึ่งมี 2 กลุ่มคือ กลุ่มแรกเป็นวัสดุตามธรรมชาติ (Natural Object) ซึ่งเคลื่อนไหวได้ กับเคลื่อนไหวไม่ได้ (Animate and Inanimate) กลุ่มที่2 คือวัสดุที่ได้จากการสร้างขึ้น (Manufacture Object) เช่น สิ่งก่อสร้าง เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องสื่อสาร และสิ่งอื่นๆที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อการใช้งาน
                3. Interactive Media
                ลักษณะของสื่อประเภทนี้คือผุ้เรียนไม่สามารถนำเสนอข้อมูลได้ แต่อาศัยการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้ อาจแบ่งได้เป็น 3 ระดับคือ
1.ผู้เรียนปฏิกิริยาต่อโปรแกรม เช่น การใช้บทเรียนโปรแกรม หรือโปรแกรมประกอบสื่อ
2.ผู้เรียนมีปฏิกิริยาต่อเครื่องจักร เช่นเครื่องช่วยสอน การแสดง Simulation ห้อง LAB ภาษาหรือเครื่องคอมพิวเตอร์
3.ผู้เรียนมีปฏิกิริยาต่อสื่อ เช่น การใช้เกมศึกษา การจัดสถานการณ์จำลอง (Simulations) เกี่ยวกับกิจกรรมการเรียน และร่วมกันแก้ปัญหาในระหว่างผู้เรียนด้วยกัน





4.การสาธิต การสาธิตคือ การอธิบายถึงข้อเท็จจริงหรือแบ่งความคิด หรือกระบวนการต่าง ๆให้ผู้ฟังแลเห็นไปด้วย เช่น ครูวิทยาศาสตร์เตรียมก๊าซออกซิเจนให้นักเรียนดู ก็เป็นการสาธิต การสาธิตก็เหมือนกับนาฏการ หรือการศึกษานอกสถานที่ เราถือเป็นสื่อการสอนอย่างหนึ่ง ซึ่งในการสาธิตนี้ อาจรวมเอาสิ่งของที่ใช้ประกอบหลายอย่าง นับตั้งแต่ของจริงไปจนถึงตัวหนังสือ หรือคำพูดเข้าไว้ด้วย แต่เราไม่เพ่งเล็งถึงสิ่งเหล่านี้ เราจะให้ความสำคัญกับกระบวนการทั้งหมดที่ผู้เรียนจะต้องเฝ้าสังเกตอยู่โดยตลอด

5. การศึกษานอกสถานที่ การพานักเรียนไปศึกษานอกสถานที่ เป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตเพื่อให้นักเรียนได้เรียนจากแหล่งข้อมูล แหล่งความรู้ที่มีอยู่จริงภายนอกห้องเรียน ดังนั้นการศึกษานอกสถานที่จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่เป็นสื่อกลางให้นักเรียนได้เรียนจากของจริง

6. นิทรรศการ นิทรรศการมีความหมายที่กว้างขวาง เพราะหมายถึง การจัดแสดงสิ่งต่างๆ เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ชม ดังนั้นนิทรรศการจึงเป็นการรวมสื่อต่าง ๆ มากมายหลายชนิด การจัดนิทรรศการที่ให้ผู้เรียนมามีส่วนร่วมในการจัด จะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสคิดสร้างสรรค์มีส่วนร่วม และได้รับข้อมูลย้อนกลับด้วยตัวของเขาเอง



หลักการเลือกสื่อการสอน
การเลือกสื่อการสอนควรยึดหลักการเลือกสื่อการสอนดังนี้
1. เลือกสื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ พิจารณาเลือกตามจุดมุ่งหมาย
2. เลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหา พิจารณาเนื้อหาสาระที่นำเสนอ แล้วพยายามเลือกสื่อที่ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น
3.เลือกสื่อที่สอดคล้องกับวัยของนักเรียน สื่อการเรียนมีหลายรูปแบบ ผู้เลือกสื่อต้องคำนึงถึงวัย สติปัญญา ความสามารถ ความต้องการและประสบการณ์เดิมของผู้เรียน มาเป็นหลักในการพิจารณาเลือกสื่ออย่างเหมาะสมด้วย
4.เลือกสื่อที่สนองความมุ่งหมายตามที่ต้องการนำเสนอ ว่าเป็นด้านใด เช่น ด้านข้อเท็จจริง ความแตกต่าง หลักเกณฑ์ กระบวนการ ทักษะหรือเจตคติ
5.เลือกสื่อให้เหมาะสมกับขนาดของผู้เรียนและสถานที่เรียน ถ้าผู้เรียนมีจำนวนมาก สื่อควรมีขนาดใหญ่ หรือมีจำนวนหลายชิ้น อีกทั้งต้องพิจารณาสถานที่ด้วยว่าเหมาะจะใช้สื่อชนิดใด
6.เลือกสื่อโดยพิจารณาคุณภาพทางเทคนิค พิจารณารูปร่าง ขนาด สี ความสวยงามของสื่อ เพื่อช่วยดึงดูดความสนใจของผู้เรียน
7.เลือกสื่อที่สะดวกต่อการใช้และการเก็บรักษา เพื่อความสะดวกในการใช้งาน สื่อควรมีความทนทาน เก็บรักษาง่าย ไม่เกิดปัญหาขณะใช้งาน
8.เลือกสื่อให้เหมาะกับประสิทธิภาพของสื่อชนิดนั้น เพราะสื่อแต่ละชนิดมีศักยภาพการใช้งานที่แตกต่างกัน มีทั้งข้อดีและข้อบกพร่อง การพิจารณาเลือกสื่อการสอนแต่ละชนิด สามารถพิจารณาโดยยึดถือศักยภาพหรือคุณสมบัติของสื่อ ว่ามีข้อดี ข้อเสียอย่างไรบ้างเพียงแค่ใช้หลักการเลือกสื่อการสอนไม่กี่ขั้นตอนที่กล่าวมานี้ ท่านก็สามารถเลือกสื่อการสอนได้เหมาะสมและตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะนำไปใช้ ให้เหมาะสมกับบุคคลและสถานที่ ได้อย่างมั่นใจ
ระบบการสื่อสาร (Communication System)
                การติดต่อสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ หรือมนุษย์กับเครื่องจักร มีการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนข้อมูลกันและกัน การสื่อสารเป็นขบวนการวัฏจักร
 จุดมุ่งหมาย
 


               
ผู้ส่ง                        เนื้อหาข้อมูล                        สื่อ/วิธีการต่างๆ                   ผู้รับ
 


การตอบสนอง
1. ผู้ส่ง ผู้สื่อสาร หรือต้นแหล่งของการส่ง (Sender, Communicatior or Source) เป็นแหลหรือผู้ที่นำข่าวสารเรื่องราว แนวความคิด ความรู้ ตลอดจนเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อส่งไปยังผู้รับซึ่งอาจเป็นบุคคลหรือกลุ่มชนก็ได้ ผู้ส่งนี้จะเป็นบุคคลเพียงคนเดียว กลุ่มบุคคลหรือสถาบัน โดยอยู่ในลักษณะต่าง ๆ ได้หลายอย่าง
2. เนื้อหาเรื่องราว (Message) ได้แก่ เนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ส่งออกมา เช่น ความรู้ ความคิด ข่าวสาร บทเพลง ข้อเขียน ภาพ ฯลฯ เพื่อให้ผู้รับรับข้อมูลเหล่านี้
3. สื่อหรือช่องทางในการนำสาร (Media or Channel) หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดแนวความคิด เหตุการณ์ เรื่อราวต่าง ๆ ที่ผู้ส่งต้องการให้ไปถึงผู้รับ
4. ผู้รับหรือกลุ่มเป้าหมาย (Receiver or Target Audience) ได้แก่ ผู้รับเนื้อหาเรื่องราวจากแหล่งหรือที่ผู้ส่งส่งมา ผู้รับนี้อาจเป็นบุคคล กลุ่มชน หรือสถาบันก็ได้
5. ผล (Effect) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ส่งส่งเรื่องราวไปยังผู้รับ ผลที่เกิดขึ้นคือ การที่ผู้รับอาจมีความเข้าใจหรือไม่รู้เรื่อง ยอมรับหรือปฏิเสธ พอใจหรือโกรธ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นผลของการสื่อสาร และจะเป็นผลสืบเนื่องต่อไปว่าการสื่อสารนั้นจะสามารถบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับทัศนคติของผู้รับ สื่อที่ใช้ และสถานการณ์ในการสื่อสารเป็นสำคัญด้วย 6. ปฏิกริยาสนองกลับ (Feedback) เป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องจากผลซึ่งผู้รับส่งกลับมายังผู้ส่งโดยผู้รับอาจแสดงอาการให้เห็น


การวางแผนเตรียมการใช้สื่อ  ประกอบด้วย  ส่วน  ดังนี้
1.            เตรียมตัวผู้สอน
-                   พิจารณาวัตถุประสงค์ของเนื้อหาก่อนที่จะสอน
-                   พิจารณาความต้องการและความสนใจของผู้สอน
-                   ทำความรู้จักกับสื่อแต่ละชนิดที่จะนำมาใช้
-                   วางแผนการใช้สื่อว่า  จะใช้อย่างไร  ใช้เมื่อใด  โดยกำหนดขั้นตอนการใช้อย่างชัดเจน
-                   ทดลองใช้เพื่อกันการผิดพลาดและเพื่อความมั่นใจ
2.            เตรียมตัวผู้เรียน
-                   การใช้สื่อบางชนิดผู้เรียนอาจต้องเตรียมบางสิ่งบางอย่างมาด้วย  หรือเตรียมตนเองก่อนเรียน  ซึ่งผู้สอนต้องบอกให้ทราบล่วงหน้า
-                   เตรียมอ่านเอกสารล่วงหน้า
-                   การใช้สื่อบางประเภทผู้สอนต้องอธิบายชี้แจง  แนะนำ  เพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม  หรือสังเกต  เช่น  ชี้แจงให้รู้จักเครื่องมือทดลองชี้แจงการบันทึกข้อมูล  การระวังอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากการทดลอง  ภารกิจที่ต้องทำ
-                   บอกให้ผู้เรียนทราบว่า  จะต้องทำอะไรหลังการใช้สื่อนั้น ๆ
-                    
3.            เตรียมสถานที่
-                   เตรียมสภาพห้องให้เหมาะสมกับการใช้สื่อ  เช่น  ถ้าสาธิตควรจะจัดที่นั่งอย่างไร  ถ้าเรียนแบบศูนย์การเรียนจะจัดอย่างไร
-                   ตรวจสภาพความพร้อมต่าง ๆ เช่น  ห้องฉาย  ระบบไฟ  ระบบระบายอากาศ  การควบคุมแสงภายในห้อง  ระบบเสียง
4.            จัดเตรียมสื่อ
-                   ในบทเรียนหนึ่ง  ไม่ควรใช้สื่อมากเกินไป  ควรใช้เท่าที่จำเป็น
-                   ตรวจสอบสภาพของสื่อให้พร้อมก่อนที่จะนำออกใช้
-                   ตรวจสอบจำนวนการใช้งาน
-                   ทดลองใช้สื่อดูก่อน
-                   จัดลำดับสื่อที่จะใช้ก่อนหลัง
-                   สื่อที่นำมาใช้ควรมีขนาดใหญ่  เห็นได้ชัดเจน  ได้ยินอย่างชัดเจน
-                   ตัวอักษะ  รูปภาพ  ข้อวาม  ควรมีขนาดเหมาะสม  เห็นได้ชัดเจนสวยงาม  ชวนดู
ขั้นใช้สื่อการเรียนการสอน
-                   นำเสนอสื่อตามขั้นตอนที่เตรียมไว้ก่อนหลัง 
ในเวลาที่พอเหมาะไม่เร็วและไม่ช้าจนเกินไป
-                   พยายามให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการใช้สื่อ
-                   การอธิบายของครูต้องชัดเจน
-                   ควบคุมเวลาตามแผนที่วางไว้
-                   สังเกตการตอบสนองของผู้เรียน
-                   กระตุ้นให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิด
-                   ให้โอกาสผู้เรียนซักถามข้อข้องใจ
-                   ให้เวลาเผื่อทำความเข้าใจพอสมควร
-                   ให้ทุกคนมองเห็นอย่างชัดเจน
-                   พยายามเน้นจุดที่น่าสนใจ
-                   สอดคล้องกับเรื่องที่กำลังดำเนินการสอนอยู่อย่างแท้จริง
-                   ขณะที่ใช้อย่ายืนบัง  ควรยืนอยู่ด้านข้าง
-                   การชี้อุปกรณ์  ให้ใช้ไม้ชี้
-                   เมื่อยังไม่ถึงเวลา  ไม่ควรติดหรือแสดงสื่อการสอน  เปิดทิ้งไว้ให้เห็นอาจทำให้ความสนใจของผู้เรียนลดลง
-                   การนำสื่อออกแสดงไม่ควรให้ผู้เรียนรอนานเกินไปเพราะอาจหมดความสนใจเสียก่อน
-                   เมื่อใช้ผ่านไปแล้วควรเก็บลง  เพื่อจะได้ไม่แย่งความสนใจ  ในขณะที่ใช้สื่อการสอนอื่น
ขั้นประเมินผล  ขั้นนี้ทำเพื่อเหตุผล  ประการ  คือ
1.            ทำให้ทราบว่าการใช้สื่อของครู  ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์เพียงใด  เพื่อจะได้มีการปรับปรุงแก้ไข
2.            ทำให้ทราบว่าสื่อการสอนนั้นเหมาะสมกับเนื้อหา  ขนาดความชัดเจน  ความสะดวกในการใช้เพียงใด  เพื่อจะได้ปรับปรุงให้ดีขึ้น
3.            ทำให้ทราบอุปสรรคที่เกิดขึ้นขณะการใช้งาน
4.            เพื่อมอบหมายให้ผู้เรียนทำกิจกรรมต่อไป  เพื่อเพิ่มความเข้าใจในสิ่งที่เรียน




Internet  กับการสื่อสารในการเรียนการสอน

                การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละรายวิชา จำเป็นต้องอาศัยการติดต่อสื่อสารระหว่างกันทั้งผู้เรียนและผู้สอน เนื่องจากการใช้เวลาในห้องเรียนปกติในสภาพปัจจุบัน หมดไปกับการบรรยายเนื้อหาวิชา นักศึกษาและอาจารย์ไม่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างเต็มที่ เช่นการซักถามปัญหาในการเรียนการสอน การเรียนรู้เนื้อหาในประเด็นที่นักศึกษาสนใจเป็นพิเศษ หรือ การส่งงานที่นักศึกษาได้รับมอบหมายในกิจกรรมการเรียนการสอนของรายวิชา เพื่อให้การติดต่อสื่อสารระหว่างนักศึกษากับอาจารย์สามารถทำให้ตลอดเวลา โดยเฉพาะนอกเวลาเรียนในชั้นเรียนปกติ จึงควรพิจารณาแนวทางการใช้ Internet เพื่อการสื่อสาร ซึ่งมีบริการใน 3 ลักษณะ คือ
·       การใช้ Email เพื่อการติดต่อรายบุคคล
·       การใช้ Listservers เพื่อการติดต่อเป็นกลุ่ม
·       การใช้  Cyber board หรือ การสร้าง Conferencing Space

การใช้จดหมายอีเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : Email)

การใช้ Email ในการเรียนการสอน เป็นการสร้างโอกาสในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันให้มากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ให้มากขึ้นด้วยทั้งนักศึกษาและอาจารย์  การติดต่อสื่อสารกันเป็นรายบุคคลนี้เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                การใช้ Email ในการติดต่อสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน สามารถนำมาใช้สำหรับการสอบถามประเด็นปัญหาในการเรียน การรับ-ส่งงานที่มอบหมายเช่น รายงาน การบ้าน โดยอาจารย์แจ้งงานที่มอบหมายให้นักศึกษาทุกคนทราบทาง Email เมื่อนักศึกษาทำรายงานโดยพิมพ์เป็นแฟ้มคอมพิวเตอร์เสร็จ ก็ส่งทาง Email ถึงอาจารย์ โดยการ Attach แฟ้มงานไปกับ Email เมื่ออาจารย์ได้รับงานของนักศึกษาก็เปิดอ่านทางจอภาพเพื่อตรวจงานให้นักศึกษา อาจารย์สามารถส่งข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงงานให้นักศึกษาได้ โดยอาจจะสรุปประเด็นที่สำคัญแล้วส่งเป็น Email กลับไปถึงนักศึกษา หรือจะพิมพ์ข้อเสนอแนะลงในเอกสารของนักศึกษาแล้ว Attach แฟ้มงานนั้นกลับไปให้นักศึกษาก็ได้

การใช้ Listservers เพื่อการติดต่อสื่อสารเป็นกลุ่ม
               
การติดต่อสื่อสารที่อาจารย์และนักศึกษาต้องการแจ้งให้ทุกคนในกลุ่มที่เรียนร่วมกันทราบ เช่นการเสนอแนวคิด ความคิดเห็น และประเด็นปัญหาที่ต้องการอภิปรายร่วมกัน ควรใช้การสร้าง กลุ่ม email หรือ Listserversเพื่อส่งข้อความครั้งเดียวก็จะไปถึงนักศึกษาทุกคนที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชานั้น
กลุ่มนั้นได้ทันที  เพราะเป็นการประหยัดเวลาและสะดวกมากกว่าการส่ง
Email ที่ติดต่อเป็นรายบุคคล  การสร้างกลุ่ม Email นี้สามารถกำหนดตามรายวิชาและกลุ่มผู้เรียน เช่น
                214420S01@list-ed.kku.ac.th  สำหรับรหัสวิชา 214420 กลุ่ม 01 สังกัดคณะศึกษาศาสตร์
                312113S07@list-sc.kku.ac.th  สำหรับรหัสวิชา 312113 กลุ่ม 07 สังกัดคณะวิทยาศาสตร์
                415110S12@list-hu.kku.ac.th  สำหรับรหัสวิชา 415110 กลุ่ม 12 สังกัดคณะมนุษยศาสตร์ ฯ
                จากตัวอย่างการสร้างกลุ่ม Email นี้ สามารถให้ระบบสร้างให้ทันทีโดยอัตโนมัติ เมื่อนักศึกษาลงทะเบียนรายวิชานั้น  โดยเชื่อมโยงโปรแกรมการสร้าง Listservers กับระบบการลงทะเบียนของสำนักทะเบียนและประมวลผล วิธีการสร้าง Listservers  โดยโปรแกรมนี้ จะช่วยลดปัญหาการสร้างได้มาก นักศึกษาลงทะเบียนกี่รายวิชาก็จะเป็นสมาชิกของกลุ่ม Email   ทุกรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษานั้น ๆ  เมื่อนักศึกษาเพิ่มหรือถอนรายวิชานั้น ก็จะเพิ่มหรือถอนชื่อออกจากกลุ่ม Email ของรายวิชานั้นทันที อาจารย์ผู้สอนไม่ต้องสร้างเองเพียงแต่ทราบว่า กลุ่ม Email ในรายวิชาและกลุ่มของตัวเองคืออะไร และจะใช้ประโยชน์ในลักษณะใดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนให้สูงสุด ตัวอย่างการใช้ระบบนี้แล้วคือที่  West Virginia Wesleyan College's Computing Services Dept. (Petitto, 1997) ผลการประเมินการใช้ระบบนี้พบว่าทั้งอาจารย์และนักศึกษาเห็นว่า ระบบนี้มีประโยชน์มากในกิจกรรมการเรียนการสอน

การใช้  Cyber board หรือ การสร้าง Conferencing Space
               
การสร้างพื้นที่ในระบบเครือข่ายเพื่อการอภิปรายร่วมกัน การเสนอประเด็น แนวคิด หรือการสื่อสารระหว่างกันทั้งนักศึกษาด้วยกันเองและกับอาจารย์
สามารถใช้ประโยชน์จากบริการอีกลักษณะหนึ่งบนระบบ Internet ได้ นั่นคือ การสร้าง Cyber board หรือ Conferencing space ซึ่งมีการใช้ประโยชน์กันมากในการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา โดยการสร้างขึ้นบน Home page ของรายวิชาเมื่อนักศึกษาและอาจารย์ต้องการอ่าน หรือ เสนอประเด็นแนวคิด ข้อความใด ลงบนพื้นที่เพื่อการอภิปรายร่วมกันก็จะทำได้อย่างง่ายและสะดวก ตัวอย่างการใช้งานลักษณะนี้ดูได้ที่ http://202.44.194.10/wcgi/sboard.exe ซึ่งเป็นพื้นที่การอภิปรายของกลุ่มนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (Computer Science Department, 1997) ถ้ามีโอกาสควรเข้าไปศึกษาดูในรายละเอียด เพื่อเป็นแนวทางในการนำมาใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชาของตนเองได้





Internet กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

                เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า World Wide Web (WWW)  หรือนิยมเรียกกันว่า Home page นั้น มีประโยชน์มากมายต่อการนำเสนอข้อมูลในระบบ Internet  เพราะนอกจากการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในลักษณะข้อความ ภาพนิ่ง เสียง และ ภาพเคลื่อนไหวได้แล้ว ยังสามารถสร้างให้มี Interaction กับผู้ใช้ได้ด้วย เช่น การช่วยสืบค้น (Search) การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การดูแฟ้มนำเสนอของ Power Point และการศึกษาเอกสารประกอบการสอน เป็นต้น ดังนั้น การสร้างโฮมเพจรายวิชา (Subject Home page) จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะใช้ประโยชน์ จากเครือข่ายเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยได้ เพราะจะเป็นกิจกรรมที่เสริมการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                ในโฮมเพจรายวิชา ควรมีโครงสร้างที่เหมาะสมกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชา จากตัวอย่างของโฮมเพจรายวิชาของมหาวิทยาลัยในประเทศ (สุรศักดิ์,2540; Wachirawut & Sumonta,1997) สามารถสรุปหัวข้อที่ควรมีในโอมเพจรายวิชาได้ดังนี้
*                                          ข้อมูลรายวิชา
n     รหัสวิชา ชื่อวิชา
n     ภาคเรียนที่ ……  ปีการศึกษา …….
· ข้อมูลผู้สอน
n     ชื่อผู้สอน
n     ห้องทำงาน, โทรศัพท์, Email address
n     วัน,เวลาที่นักศึกษาเข้าพบได้
· รายละเอียดกิจกรรมของวิชา
n     คำอธิบายรายวิชา
n     จุดประสงค์ของวิชา
n     เอกสารประกอบการศึกษา
n     การวัดผลและประเมินผลของวิชา
n     ตารางเรียนตลอดภาคเรียน
*       สัปดาห์ที่ วันที่
*       หัวข้อเนื้อหา
*       รายละเอียดเนื้อหา ( slide show, เอกสาร pdf หรือ เอกสาร html format)
*       งานที่มอบหมาย หรือ การบ้าน
· พื้นที่การอภิปราย (Cyber board หรือ Conferencing space)
·การสืบค้นจากแหล่งข้อมูลใน Internet (Search tools)
นอกจากนี้อาจารย์แต่ละวิชาสามารถเพิ่มเติมอย่างอื่นที่เหมาะสมกับลักษณะของรายวิชาได้อีก เช่น พื้นที่นำเสนอผลงานการเขียนรายงานหรือบทความจากการค้นคว้าของนักศึกษา ที่ควรเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์ด้วย  เพื่อปลูกฝังคุณลักษณะของนักวิชาการให้นักศึกษาที่มีบทบาทต่อการเผยแพร่วิทยาการสู่สังคม
เมื่อนำโฮมเพจรายวิชามาใช้เสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติ กิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียนจึงน่าจะต้องเปลี่ยนแปลงให้แตกต่างจากเดิมที่เน้นการบรรยายของอาจารย์เป็นหลัก เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่นักศึกษาเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน นั่นคือนักศึกษาจะต้องศึกษาจากเอกสารรายละเอียดเนื้อหาที่อาจารย์เตรียมไว้ในโฮมเพจรายวิชา หรือจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ตามเอกสารประกอบการศึกษาที่ทำ Link ไว้ให้มาล่วงหน้า เมื่อถึงชั่วโมงเรียนนักศึกษาและอาจารย์มาพบกันเพื่ออภิปราย เสนอแนวคิด หรือซักถามประเด็นปัญหาที่ยกขึ้นมาเพื่อให้นักศึกษามีโอกาสคิดวิเคราะห์ และเสนอความคิดตามประเด็นปัญหาต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาในชั้นเรียนเพื่อการบรรยายให้ความรู้ วิธีการนี้เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในตนเองมากขึ้น ได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น และที่สำคัญมีโอกาสได้คิดวิเคราะห์ในเชิงสร้างสรรค์และแสดงความคิดเห็นต่อกลุ่ม ซึ่งการสอนแบบบรรยายไม่สามารถจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะเหล่านี้ได้เนื่องจากเวลาจำกัดและต้องใช้ไปในการบรรยายเนื้อหาเสียส่วนใหญ่

การเตรียมความพร้อมเพื่อการใช้ Internet ในการเรียนการสอน

                การใช้ Internet เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนจะประสบความสำเร็จได้นั้น ขึ้นอยู่กับความพร้อมขององค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วย บุคคล ระบบเครือข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมสนับสนุนการใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
การเตรียมพร้อมด้านบุคคล
                บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการนำ Internet มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย ประกอบด้วยบุคคล 3 กลุ่ม คือ เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ อาจารย์ และ นักศึกษา ในส่วนของเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้การนำ Internet มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ เพราะช่วยพัฒนาติดตั้งและบำรุงรักษาทั้งระบบเครือข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมสนับสนุนการใช้ Internet ในการเรียนการสอน ได้แก่ การติดตั้งห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในแต่ละคณะ การดูแลระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัย ดูแล Server ที่เกี่ยวข้อง การบริหารจัดการระบบ Email, Listservers, และ Web servers รวมถึงการพัฒนา Authoring System สำหรับการสร้างโฮมเพจรายวิชา จึงถือได้ว่าเป็นกำลังสำคัญที่จะช่วยให้การใช้ Internet มีความเป็นไปได้หรือไม่ 
ในส่วนของอาจารย์ต้องพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะการใช้ Email และ WWW รวมถึงความสามารถในการสร้าง Homepage ด้วย ถ้าอาจารย์ท่านใดมีความสามารถที่จะสร้างเองได้จากโปรแกรมช่วยพัฒนาที่มีอยู่แล้วเช่น Frontpage, Netscape, GNN และอื่นๆ  ก็ทำด้วยตนเอง สำหรับอาจารย์ส่วนใหญ่ที่ไม่มีความรู้ทางด้านการใช้ Web Edit Application เหล่านี้ ทางมหาวิทยาลัยควรพัฒนา Authoring System สำหรับการสร้างโฮมเพจรายวิชาที่เป็นของมหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยเฉพาะขึ้นมา
                นอกจากพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว อาจารย์จำเป็นต้องเตรียมพร้อมในการเปลี่ยนแปลงลักษณะการจัดการเรียนการสอนจากเดิมที่ใช้การบรรยายเป็นหลัก มาเป็นเทคนิคการสอนที่ใช้ Internet ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งแตกต่างไปจากเดิมค่อนข้างมาก คือ การเตรียมการสอนต้องเตรียมเอกสารประกอบการสอนเพื่อนำลงไว้ในโฮมเพจรายวิชา การสืบค้นแหล่งข้อมูลบน Internet เพื่อที่จะทำ Link หรือแนะนำให้นักศึกษาเข้าไปศึกษาค้นคว้า การจัดกิจกรรมในชั่วโมงเรียนที่เน้นการอภิปรายหรือการสัมมนาแทนการบรรยายเนื้อหาวิชา การใช้                Email ในการถามตอบปัญหาและการรับ-ส่งงานของนักศึกษา การเข้าไปใน Cyber board เพื่อร่วมแสดงความคิดเห็นกับนักศึกษา และประเมินพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาจากการร่วมแสดงความเห็นใน Cyber board ของรายวิชา การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นการปฏิรูปเทคนิคการสอนกันใหม่ ให้เหมาะสมกับยุคสมัยของเทคโนโลยี คงต้องอาศัยการทดลอง ศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้รูปแบบ หรือเทคนิคการสอนโดยใช้ Internet ในการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมต่อไป
                ในส่วนของนักศึกษา จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ของตนเอง วิชาหนึ่งที่จำเป็นต้องบรรจุไว้ในหลักสูตรต่างๆ คือ วิชาการศึกษาค้นคว้า ที่แตกต่างไปจากลักษณะวิชาเดิม คือเน้นการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ของนักศึกษา เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น การพิมพ์เอกสาร การสืบค้นหนังสือในห้องสมุดด้วยระบบออนไลน์ (OPAC) การสืบค้นฐานข้อมูล CD-ROM การใช้ Email และ WWW  นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 ควรจะต้องเรียนวิชานี้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้วิชาอื่น ๆ ต่อไป

โปรแกรมสนับสนุน
                การใช้ Internet ในการเรียนการสอนต้องมีโปรแกรมที่จำเป็น ในการสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอน ทั้ง โปรแกรมด้าน Email โปรแกรมการพัฒนาโฮมเพจรายวิชา โปรแกรมการสร้างสื่ออีเล็กทรอนิกส์เพื่อนำมาลงในโฮมเพจรายวิชา ทั้งภาพ เสียง และสื่อมัลติมีเดีย ที่จำเป็นอย่างเร่งด่วนในระยะเริ่มต้นคือ การพัฒนาโปรแกรมช่วยสร้างโฮมเพจรายวิชา (Authoring System for Subject Homepage Development) ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากโปรแกรมสร้าง Web page ทั่ว ๆ ไป แนวทางการพัฒนา Authoring System นี้ จำเป็นต้องอาศัยบุคคลหลายกลุ่มร่วมมือกันพัฒนาตั้งแต่ ผู้ออกแบบระบบ โปรแกรมเมอร์ นักการศึกษา ผู้ออกแบบด้านกราฟฟิก ผู้ออกแบบด้านมัลติมีเดีย กลุ่มบุคคลเหล่านี้มีอยู่แล้วในมหาวิทยาลัยขอนแก่น เช่น ศูนย์คอมพิวเตอร์ อาจารย์และนักศึกษาจากภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และอาจารย์ข้าราชการที่มีความรู้ความสามารถ ที่อยู่ในคณะและหน่วยงานต่าง ๆ อีกหลายท่าน บุคคลเหล่านี้มีศักยภาพมากพอที่จะพัฒนา Authoring System ได้ถ้ามีการสร้างทีมพัฒนาอย่างเป็นระบบ ซึ่งขึ้นอยู่กับการสนับสนุน ของมหาวิทยาลัย ว่ามีความตั้งใจที่จะให้เกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด
ระบบเครือข่ายและเครื่องคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความพร้อมในสองปัจจัยนี้ ในระดับที่สามารถนำมาใช้เพื่อการเรียนการสอนได้แล้ว จะมีปัญหาก็เพียงห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในระดับคณะที่ยังอยู่ในแผนพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหลักของมหาวิทยาลัย ซึ่งคาดว่าน่าจะได้รับการสนับสนุนให้ดำเนินการตามแผนได้ ศูนย์คอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะผู้รับผิดชอบการพัฒนาและบำรุงรักษาระบบเครือข่ายภายใน ได้ดำเนินการพัฒนาระบบเครือข่ายในระดับที่ใช้งานได้จริงแล้ว และมีแผนที่จะพัฒนาเพื่อให้เต็มรูปแบบต่อไป เพื่อสนองตอบความต้องการการใช้ Internet เพื่อการเรียนการสอนและการบริหารของมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตามแม้จะไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาให้เป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้ ระบบเครือข่ายในปัจจุบันก็เพียงพอที่จะนำมาใช้เพื่อการเรียนการสอนได้ในระดับหนึ่ง

ความเป็นไปได้ในการนำ Internet มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยขอนแก่น จะเกิดขึ้นได้มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับความพร้อมและความร่วมมือกันของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย การพัฒนาการใช้ Internet ในการเรียนการสอนที่ผ่านมาอยู่ในลักษณะที่ต่างคนต่างทำ จึงมีใช้เพียงในกลุ่มบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเท่านั้น ขาดการเผยแพร่และพัฒนาอาจารย์ส่วนใหญ่ให้มีความรู้ความสามารถและทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ชัดเจน เนื่องจากไม่มีหน่วยงานหรือคณะกรรมการที่รับผิดชอบในการดำเนินงานโครงการพัฒนาบุคลากรทางด้านนี้ที่ชัดเจน โครงการนี้ต้องการความช่วยเหลือและร่วมมือกันจากอาจารย์และบุคลากร ที่มีความรู้ความสามารถและทักษะทางด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา 

 การเตรียมความพร้อมและประสานงานกันที่ดีทั้งด้านบุคคลที่เกี่ยวข้องระบบเครือข่าย ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมสนับสนุนในการใช้ Internet เพื่อการเรียนการสอน รวมถึงนโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการสนับสนุนของมหาวิทยาลัย จะทำให้ความมุ่งหวังในการใช้ Internet เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยมีความเป็นไปได้และประสบความสำเร็จได้








การใช้รูปภาพเป็นสื่อในการประกอบการเรียนการสอน

                รูปภาพ (Flat  picture) เป็นอุปกรณ์การสอนที่หาได้ง่าย  ราคาถูก  ครูอาจหารูปภาพได้จากนิตยสาร  หนังสือพิมพ์  ภาพโฆษณา  ปฏิทิน  ซึ่งมีทั้งภาพสีและขาวดำ  จัดเป็นทัศนะวัสดุที่มีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนมากทำให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วดีกว่าการบรรยายหรืออธิบาย
เพียงอย่างเดียว
คุณค่าของรูปภาพ

                จากผลการวิจัยเกี่ยวกับรูปภาพยืนยันถึงคุณค่าของรูปภาพที่มีต่อการเรียนการสอนหลายประการ  คือ
1.            เป็นจุดรวมความสนใจของผู้ดูและทำให้มีประสบการณ์ร่วมกัน
2.            ช่วยทำให้เข้าใจบทเรียนได้ง่าย  จำได้รวดเร็ว  เป็นตัวเสริมแรงทำให้บทเรียนน่าสนใจ
3.            ช่วยเปลี่ยนทัศนคติของผู้ดูได้  แก้รอยประทับใจที่ผิดได้
4.            สามารถจำลองสิ่งที่เป็นจริงมาศึกษารายละเอียดได้  จะใช้เวลาศึกษานานเท่าไรก็ได้  เช่น  รูปภาพที่ถ่ายจากดาวอังคารหรือดวงจันทร์
5.            สามารถนำสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวมาศึกษาได้
6.            ช่วยทำความเข้าใจในสิ่งที่อ่านให้สมบูรณ์ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
7.            ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน  เช่น  ได้ตอบคำถามโดยอ่านจากภาพ  ช่วยทำภาพมาจัดป้ายนิเทศ  จากการเรียนเนื้อหาบางเรื่องแล้ว  มีส่วนร่วมในการอภิปราย
8.            ช่วยทำประสบการณ์นามธรรมให้เป็นรูปธรรม
9.            ราคาถูก  หาซื้อได้ง่าย  สามารถดัดแปลงให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของบทเรียนได้ง่าย
10.    แปรสภาพเป็นสื่อได้หลายรูปแบบ  เช่น  เป็นภาพผนึกเป็นชิ้นส่วนที่ใช้ติดกับแผ่นป้าย  ผ้าสำลี  สมุดภาพ  นำไปตกแต่งป้ายนิเทศ  ฯลฯ
11.    ครอบคลุมเนื้อหาหลายวิชา
12.    เหมาะที่จะใช้กับผู้เรียนทั้งหลายบุคคล  กลุ่มเล็ก  และทั้งห้องเรียน
13.    ใช้ร่วมกับสื่ออื่น ๆ ได้เกือบทุกชนิด
14.    นำเรื่องราวและเหตุการณ์ในอดีตมาศึกษาได้
15.    ช่วยเน้นรายละเอียดทำให้มองเห็นความซับซ้อนได้
16.    ใช้ได้ทุกขั้นตอนของการเรียนการสอน (ขั้นนำ  ขั้นสอน  สรุป  วัดผล) สุดแต่จะใช้
17.    เป็นแหล่งข้อมูลใช้สำหรับศึกษาค้นคว้าได้ทุกยุคสมัย
18.    สามารถนำเอาสิ่งที่เร้นลับ  สิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่ามาศึกษา
ข้อจำกัดของรูปภาพ
1.            ชำรุดฉีกขาดได้ง่าย  ถ้าจะเก็บไว้ในระยะยาว  ต้องผนึกบนกระดาษแข็ง
2.            ด้อยกว่าการใช้ของจริงหรือหุ่นจำลอง  เพราะขาดมิติของความลึก
3.            อยู่ในลักษณะนิ่งขาดการเคลื่อนไหวลักษณะของรูปภาพที่เด็กชอบดู

                จากการวิจัยหลาย ๆ ชิ้นที่พยายามศึกษาถึงรูปแบบ  ขนาด  สี  ของภาพที่เด็กชอบดู  พอสรุปได้ดังนี้
1.             เด็กเล็กจะชอบภาพง่าย ๆ แต่เมื่อโตขึ้นจะสนใจภาพที่มีความสลับซับซ้อนขึ้นตามลำดับ
2.             เด็กชอบภาพสีมากกว่าภาพขาวดำ
3.             ชอบภาพสีที่ใช้สีเลียนแบบธรรมชาติ
4.             ชอบภาพที่มีการแสดงอาการเคลื่อนไหวอยู่นาน  เช่น  คนกำลังวิ่ง  ต้นไม้กำลังล้ม  คนกำลังทำท่าน้าวธนูจะยิง
5.             ชอบภาพที่เกี่ยวข้อกับประสบการณ์เดิมของตน
6.             ชอบดูภาพที่มีขนาดใหญ่  เพราะเห็นชัดเจนกว่า
7.             ชอบภาพที่เป็นไปตามความจริงมากกว่าภาพประดิษฐ์
8.             ชอบภาพที่แสดงให้เห็นถึงการกระทำหรือเรื่องราวต่อเนื่องกัน


ลักษณะการมองภาพ
1.            ทุกคนชอบมองภาพสีมากกว่าภาพขาวดำ
2.            ผู้ดูภาพแต่ละคนจะมองเห็นสิ่งที่อยู่ในภาพเดียวกันได้แตกต่างกัน  ทั้งนี้ขึ้นกับประสบการณ์เดิมของผู้ดูแต่ละคน  ทัศนคติ  ความรู้สึกส่วนตัว
3.            ครั้งแรกที่เห็นภาพจะมองรวม ๆ ก่อน  แล้วจึงพิจารณาจุดที่น่าสนใจและรายละเอียดในลำดับต่อมา
4.            ผู้ดูภาพที่ได้รับการแนะนำล่วงหน้าจะเห็นในสิ่งที่ต้องการได้มากกว่าให้ดูเองโดยไม่ให้คำแนะนำ
5.            ส่วนใหญ่จะมีแนวโน้มที่จะมองภาพบริเวณซ้ายบนมากที่สุด  รองลงมาก็คือ  ซ้ายล่าง ขวาบน และขวาล่าง  ตามลำดับ  ( เพราะเราอ่านจากซ้ายไปขวานั่นเอง )
หลักการเลือกรูปภาพประกอบการสอน
                เมื่อได้ทราบถึงลักษณะการมองภาพของตน  และภาพที่เด็กชอบดูแล้วก็ควรนำความรู้หรือข้อเท็จจริงนี้มาใช้ในการพิจารณาในการเลือกภาพ  เพื่อนำมาประกอบการสอน

1.                     ตรงกับจุดประสงค์ของเนื้อหาที่จะสอนและสอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอน
2.                     เหมาะกับวัย  ระดับชั้นของผู้เรียน
3.                     เกี่ยวข้องกับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
4.                     รูปภาพที่เป็นจริง  เหมือนจริง
5.                     แสดงเรื่องที่สำคัญเพียงอย่างเดียว
6.                     ถ้าเป็นสิ่งที่อยู่ไกลตัว  ไม่เคยเห็นมาก่อน  ควรมีสิ่งที่สามารถให้ผู้ดูเทียบเคียงขนาดที่แท้จริงของ ๆ สิ่งนั้นอยู่ในภาพด้วย  เพื่อให้ผู้ดูเข้าใจขนาดที่ถูกต้อง
7.                     เลือกภาพที่มีการจัดภาพหรือการประกอบภาพที่น่าสนใจ
8.                     เลือกใช้ภาพสีถ้าเห็นว่าภาพสีจะช่วยสื่อความหมายได้ดีกว่า
9.                     ภาพวาดจะเน้นรายละเอียดได้มากกว่าภาพถ่ายในกรณีที่ภาพมีความซับซ้อน
10.             ถ้าใช้ในห้องเรียนควรมีขนาดใหญ่พอที่จะมองเห็นได้ทั่วห้อง(ขนาด 8x10 นิ้ว)
11.             ในการสอนแต่ละครั้ง  ควรเลือกใช้ภาพที่สื่อความหมายได้ดีที่สุดไม่จำเป็นต้องใช้หลาย ๆ ภาพ
12.             มีความเกี่ยวพันหรือใกล้เคียงกับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน  ยิ่งทำให้ผู้ดูอ่านความหมายได้ถูกต้อง

หลักการใช้รูปภาพประกอบการสอน

                เมื่อตัดสินใจว่าจะเลือกใช้ภาพใดแล้ว  ก็เป็นหน้าที่ของครูที่จะหาวิธีการที่ดีที่สุดในการใช้ภาพนั้น  เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด  โดยใช้เกณฑ์ดังนี้
1.            ไม่ควรให้ดูหลาย ๆ ภาพพร้อม ๆ กันอาจทำให้ผู้ดู  สับสนและเกิดความคิดรวบยอด  สู้ภาพเดียวที่ตรงจุดหมายไม่ได้
2.            ใช้ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมไม่เร็วหรือช้าจนเกินไป  และอธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจก่อนที่จะผ่านไปยังภาพอื่น
3.            พยายามพิจารณาใช้รูปภาพร่วมกับสื่อชนิดอื่นด้วย  เช่น  อาจใช้ควบคู่กับแผนภูมิ  แผนสถิติ  ของจริง  เทป  เพราะรูปภาพเพียงอย่างเดียวไม่สามารถถ่ายทอดความหมายให้กับผู้เรียนได้อย่างสมบูรณ์
4.            เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการใช้ภาพด้วย  เช่น  ได้ตอบคำถาม  ได้อภิปรายได้ตอบได้
5.            วางแผนการใช้ล่วงหน้าว่าจะได้ภาพนั้นเพื่ออะไร  เมื่อไร  อย่างไร
                - ถ้าใช้นำเข้าสู่บทเรียนควรนำภาพให้นักเรียนดู แล้วใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กตอบหรือพูดคุยเกี่ยวกับภาพนั้น
                - ถ้าใช้ประกอบการเรียนการสอนให้ใช้วิธีการอธิบายแสดงภาพให้ดูให้ได้พิจารณารายละเอียด  พร้อมทั้งทำความเข้าใจไปด้วย
                - ถ้าใช้รูปให้นำภาพทั้งหมดออกแสดงตามลำดับ  ครูอาจเป็นผู้สรุปหรือให้นักเรียนช่วยกันสรุปได้
                - ถ้าใช้วัดผลควรนำภาพออกแสดงแล้วให้เด็กตอบคำถาม  เพื่อให้ได้คำตอบที่ครูต้องการ  สังเกตจากปฏิกิริยาตอบสนองของผู้เรียน

6.            แนะนำวิธีอ่านหรือดูภาพแก่ผู้เรียน  เพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นรายละเอียดที่ต้องการ
7.            ควรเลือกวิธีการดูรูปภาพให้เหมาะสมที่สุด  เช่น  อาจใช้วิธีติดบนกระดานถือแล้วแสดงให้ดูที่หน้าชั้นเรียน  ให้ดูเป็นกลุ่มหรือใช้เครื่องฉายภาพทึบแสงฉายให้ดู
8.            บางครั้งอาจใช้ภาพกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์  เช่น  ให้ผู้เรียนสร้างเรื่องประกอบภาพ
9.            ใช้ภาพให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้และทดสอบความเข้าใจของนักเรียนที่ได้จากรูปภาพทุกครั้งที่ใช้ประกอบการสอน
10.    ครูจะต้องระลึกอยู่เสมอว่า  เฉพาะตัวรูปภาพเองไม่ช่วยให้เกิดความเข้าใจหรือความทรงจำมากนัก  แต่รูปภาพจะมีคุณค่าในการเรียนการสอนได้มากก็ต่อเมื่อครูนำมาใช้ได้อย่างถูกวิธี  และใช้คำพูด  คำอธิบายได้อย่างเหมาะสม
11.    บอกขนาดที่แท้จริงของสิ่งที่เห็นในภาพนั้นแก่นักเรียนด้วย  เพื่อความเข้าใจอันถูกต้อง
12.    ภาพที่แสดงให้ดูในช่วงการเรียนการสอนแล้ว  เมื่อเลิกสอนครูอาจนำไปจัดแสดงไว้บนป้ายนิเทศให้นักเรียนได้ศึกษาต่อนอกเวลาเรียนก็ได้
เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (กระดานชอล์กไฟฟ้า, Overhead  Projector)
                เป็นเครื่องฉายที่คนส่วนใหญ่รู้จักเกือบทุกวงการ  เป็นเครื่องฉายที่ใช้ระบบฉายอ้อม (Indirect Projection) ถูกนำมาแทนกระดานชอล์กและดีกว่ากระดานชอล์กในอีกหลาย ๆ  ประการเป็นเครื่องฉายชนิดเดียวที่ใส่วัสดุเข้าเครื่องฉายโดยไม่ต้องวางกลับหัวข้อความเรื่องราวที่ผ่านไปแล้ว  สามารถนำมาอธิบายฉายซ้ำอีก  ถ้าต้องการเพราะแผ่นใสที่เตรียมมาให้ดูยังจะดูซ้ำอีกกี่รอบก็ได้
ข้อดีของเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ
1.            น้ำหนักเบามีหลายรูปแบบ  แบบกระเป๋าหิ้วก็มี (Portable) ก็มี
2.            ใช้ในก้องที่มีแสงสว่างได้  ไม่มีปัญหาเรื่องห้องฉายและจัดฉาย
3.            ระบบของเครื่องใช้ได้สะดวก  ไม่ยุ่งยากซับซ้อน  เพียงแต่เปิดสวิทซ์และโฟกัสก็ใช้การได้  ใช้ง่ายที่สุดกว่าเครื่องฉายทุกชนิด  ผู้สอนจึงใช้เองได้
4.            ผู้สอน  ผู้บรรยาย  หันหน้าเข้าหาผู้ฟังได้ตลอดเวลา  ดีกว่ากระดานชอล์กมาก
5.            ไม่มีฝุ่นละอองเปรอะเปื้อน  ซึ่งต่างกับกระดานชอล์ก
6.            ฉายได้ทั้งแผ่นที่เป็นสีและขาวดำ
7.            ครูจะยืนหรือนั่งเขียนก็ได้
8.            อธิบาย  เขียนไปก็ได้โดยไม่ต้องหันหลังให้ผู้ฟัง
9.            ถ้าฉายภาพหรือตัวอักษรขึ้นจอแล้วยังเห็นชัดเจนก็สามารถปรับขนาดให้ใหญ่ขึ้นได้อีก  โดยเลื่อนเครื่องให้ห่างจากจออีก
10.    ผู้สอนสามารถเตรียมการสอนมาล่วงหน้าได้
11.    ทำให้ผู้บรรยายหรือผู้สอนมีความมั่นใจ  เพราะได้เตรียมการมาอย่างดี
12.    ใช้กับกลุ่มผู้เรียนใหม่ ๆ ได้
13.    ใช้ได้ดีมากในสถานที่ที่ไม่ต้องการให้มีฝุ่นผงฝุ่นชอล์กรบกวน  เช่น  ห้องปรับอากาศ
14.    ผู้สอนสามารถชี้สิ่งต่าง ๆ บนแผ่นโปร่งใส  โดยไม่ต้องหันไปชี้ภาพบนจอ
15.    จัดทำและเก็บรักษาได้ง่าย
16.    แผ่นภาพโปร่งใส่ที่เตรียมเป็นชุด ๆ อย่างดี  สามารถเก็บไว้ใช้ได้อย่างถาวร  จะใช้อีกกี่ครั้งก็ได้  เสียหายยาก
17.    วัสดุที่นำมาใช้กับเครื่องก็มีราคาถูก  แม้แต่ราคาของเครื่องฉายก็ไม่แพง
18.    เคลื่อนย้ายง่าย
19.    ไม่ต้องใช้ห้องที่มืดมาก
20.    ผู้สอนสามารถผลิตขึ้นใช้เองได้
21.    สามารถเลือกใช้เป็นแฟ้มได้  โดยไม่ต้องใช้ทั้งหมด
22.    ใช้ร่วมกับอุปกรณ์อื่นได้  เช่น ใช้ร่วมกันเทป (Slide – Tape  Synchronized)
23.    ใช้เป็นรายบุคคลหรือเป็นหมู่ก็ได้  โดยอาศัยฟังคำบรรยายจากเทป
24.    จะดูนานเท่าไรก็ได้
25.    ใช้สอนได้ทุกวิชา  ทุกระดับ

การใช้สไลด์ประกอบการเรียนการสอน  อาจทำได้หลายรูปแบบ  เช่น

1.            ใช้เป็นสื่อรายบุคคล  โดยจัดเตรียมสถานที่และเครื่องฉายไว้ให้พร้อม  มีคู่มือแนะนำการใช้  ผู้เรียนที่สนใจสามารถยืมแผ่นสไลด์ไปฉายดูได้เองตามลำพัง
2.            ใช้เป็นกลุ่มย่อยในศูนย์การเรียน  โดยใช้เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่ง  ควรเป็นสไลด์ที่มีเนื้อหาสั้น ๆ ไม่ใช้เวลามากจนเกินไป
3.            ใช้ส่วนหนึ่งของระบบการสอนของครู  ส่วนใหญ่จะใช้ในขั้นของการสอนโดยแจ้งให้ผู้เรียนทราบตามขบวนการดังนี้
-                   แจ้งให้ทราบว่าเป็นสไลด์เรื่องอะไร
-                   แจ้งให้ทราบเค้าโครงของเรื่องโดยย่อ
-                   ผลที่ผู้เรียนจะรับจากการดูสไลด์
-                   ภารกิจที่ผู้เรียนจะต้องปฏิบัติในระหว่างการชมสไลด์
-                   ภารกิจที่ผู้เรียนจะต้องปฏิบัติภายหลังการชมสไลด์
-                   ให้ชมสไลด์โดยสังเกตภาพแต่ละภาพอย่างชัดเจน
-                   อภิปราย  สรุป  หรืออาจมีกิจกรรมเสริมแล้วแต่กรณี
-                   ขณะฉายถ้าเป็นสไลด์ที่ไม่มีเทปบรรยายประกอบ  ครูจะต้องอธิบายประกอบด้วย  โดยการอธิบายต้องย้ำหรือเน้นสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนดูเป็นพิเศษด้วย  และก่อนนำมาใช้ครูต้อง Preview  ก่อน


ข้อจำกัดของสไลด์
1.            การถ่ายทำสไลด์อาจต้องอาศัยเครื่องมือที่ดีพอสมควรและผู้ถ่ายทำต้องมีความชำนาญพอสมควร  จึงจะได้ภาพที่สื่อความหมายได้ดี  สีสวยชัดเจน
2.            ภาพแต่ละภาพถ้าเก็บไม่ดีอาจสูญหายได้
3.            เป็นภาพนิ่งไม่มีการเคลื่อนไหว
4.            มีแต่ภาพไม่มีเสียง  ถ้าต้องการให้มีเสียงต้องใช้เทปคำบรรยายประกอบ


การเก็บรักษา
1.            อย่าให้สไลด์ถูกความร้อนมาก ๆ
2.            ใส่กล่องเก็บฝาปิดมิดชิด  เพื่อป้องกันฝุ่น  ความร้อน  ความชื้น
3.            เขียนชื่อเรื่อง  จำนวนแฟ้ม  เวลาที่ใช้ฉายไว้ที่หน้ากล่องให้ชัดเจน 
4.            ควรมีเนื้อหาของแต่ละแฟ้มประกอบกับสไลด์ด้วย  สำหรับใครก็ได้ที่ต้องการขอยืมใช้
5.            ถ้าเป็นสไลด์แบบเรื่องราวควรให้หมายเลข 1 – จบเรื่อง เพื่อจะได้ใช้อย่างถูกต้อง
6.            ถ้ามีสไลด์ชำรุด  ต้องซ่อม  ถ้าทิ้งไว้และนำไปใช้ฉายอาจทำให้เครื่องฉายติดขัดหรือฟิล์มสไลด์แผ่นนั้นอาจชำรุดเป็นรอยสกปรก
7.            ห้ามใช้นิ้วมือแตะฟิล์มจะทำให้เป็นริ้วรอยสกปรก
8.            ไม่ควรฉายสไลด์แต่ละภาพนานเกินกว่า  นาที 
เพราะอาจร้อนจัดและทำให้ฟิล์มกรอบ  สีซีดจาง
9.            ทำเครื่องหมายที่กรอบ  เพื่อสะดวกแก่การใส่ลงถาด

หลักการเลือกสไลด์ประกอบการสอน

1.            ตรงกับเนื้อเรื่องที่จะสอน
2.            เนื้อหามีความถูกต้อง
3.            ภาพแต่ละภาพสื่อความหมายได้
4.            สีสวย  ชวนดู  มีความคมชัด
5.            มีการประกอบภาพสวย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น