หน่วยที่4

จิตวิทยาการเรียนการสอน

ความหมายของการเรียนรู้

นักจิตวิทยาหลายท่านให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้ เช่น

                คิมเบิล  (   Kimble ,  1964   )  "การเรียนรู้   เป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม  อันเป็นผลมาจากการฝึกที่ได้รับการเสริมแรง"
                ฮิลการ์ด และ เบาเวอร์  (Hilgard & Bower, 1981)  "การเรียนรู้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก   ทั้งนี้ไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่เกิดจากการตอบสนองตามสัญชาตญาณ  ฤทธิ์ของยา หรือสารเคมี หรือปฏิกริยาสะท้อนตามธรรมชาติของมนุษย์  "
                คอนบาค  (  Cronbach  )  "การเรียนรู้  เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลประสบมา "
                พจนานุกรมของเวบสเตอร์  (Webster 's  Third  New International Dictionary) "การเรียนรู้ คือ  กระบวนการเพิ่มพูนและปรุงแต่งระบบความรู้  ทักษะ นิสัย หรือการแสดงออกต่างๆ อันมีผลมาจากสิ่งกระตุ้นอินทรีย์โดยผ่านประสบการณ์ การปฏิบัติ หรือการฝึกฝน"

 ประดินันท์  อุปรมัย (๒๕๔๐, ชุดวิชาพื้นฐานการศึกษา(มนุษย์กับการเรียนรู้) : นนทบุรี, พิมพ์ครั้งที่ ๑๕,     หน้า ๑๒๑) “ การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงของบุคคลอันมีผลเนื่องมาจากการได้รับประสบการณ์  โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเหตุทำให้บุคคลเผชิญสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม “  ประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหมายถึงทั้งประสบการณ์ทางตรงและประสบการณ์ทางอ้อม

                ประสบการณ์ทางตรง คือ ประสบการณ์ที่บุคคลได้พบหรือสัมผัสด้วยตนเอง  เช่น เด็กเล็กๆ ที่ยังไม่เคยรู้จักหรือเรียนรู้คำว่า “ร้อน” เวลาที่คลานเข้าไปใกล้กาน้ำร้อน แล้วผู้ใหญ่บอกว่าร้อน และห้ามคลานเข้าไปหา  เด็กย่อมไม่เข้าใจและคงคลานเข้าไปหาอยู่อีก จนกว่าจะได้ใช้มือหรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายไปสัมผัสกาน้ำร้อน จึงจะรู้ว่ากาน้ำที่ว่าร้อนนั้นเป็นอย่างไร  ต่อไป เมื่อเขาเห็นกาน้ำอีกแล้วผู้ใหญ่บอกว่ากาน้ำนั้นร้อนเขาจะไม่คลานเข้าไปจับกาน้ำนั้น  เพราะเกิดการเรียนรู้คำว่าร้อนที่ผู้ใหญ่บอกแล้ว  เช่นนี้กล่าวได้ว่า ประสบการณ์
ตรงมีผลทำให้เกิดการเรียนรู้เพราะมีการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เผชิญกับสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม  ในการมีประสบการณ์ตรงบางอย่างอาจทำให้บุคคลมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แต่ไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ ได้แก่
                ๑.  พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากฤทธิ์ยา หรือสิ่งเสพติดบางอย่าง
                ๒.  พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากความเจ็บป่วยทางกายหรือทางใจ
                ๓.  พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากความเหนื่อยล้าของร่างกาย
                ๔.  พฤติกรรมที่เกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนต่างๆ
                ประสบการณ์ทางอ้อม คือ ประสบการณ์ที่ผู้เรียนมิได้พบหรือสัมผัสด้วยตนเองโดยตรง  แต่อาจได้รับประสบการณ์ทางอ้อมจาก  การอบรมสั่งสอนหรือการบอกเล่า การอ่านหนังสือต่างๆ และการรับรู้จากสื่อมวลชนต่างๆ

จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้

                พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายของนักการศึกษาซึ่งกำหนดโดย บลูม และคณะ  (Bloom and Others ) มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน  ๓  ด้าน    ดังนี้
                ๑.  ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)  คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถทางสมอง ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความจำ ความเข้าใจ  การนำไปใช้  การวิเคราะห์  การสังเคราะห์และประเมินผล
                ๒.  ด้านเจตพิสัย (Affective Domain )  คือ ผลของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงด้านความรู้สึก  ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความรู้สึก ความสนใจ  ทัศนคติ การประเมินค่าและค่านิยม
                ๓.  ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)  คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถด้านการปฏิบัติ ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท การเคลื่อนไหว  การกระทำ  การปฏิบัติงาน การมีทักษะและความชำนาญ

ธรรมชาติของการเรียนรู้

                การเรียนรู้มีลักษณะสำคัญดังต่อไปนี้
                ๑.  การเรียนรู้เป็นกระบวนการ  การเกิดการเรียนรู้ของบุคคลจะมีกระบวนการของการเรียนรู้จากการไม่รู้ไปสู่การเรียนรู้ ๕ ขั้นตอน คือ
                     ๑.๑  มีสิ่งเร้ามากระตุ้นบุคคล
                     ๑.๒  บุคคลสัมผัสสิ่งเร้าด้วยประสาททั้ง ๕
                     ๑.๓  บุคคลแปลความหมายหรือรับรู้สิ่งเร้า
                     ๑.๔  บุคคลมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้
                     ๑.๕  บุคคลประเมินผลที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
 






เกิดการเรียนรู้

Learning

การเปลี่ยนแปลง     พฤติกรรม

 

Concept
ความคิดรวบยอด
 

Response
ปฏิกิริยาตอบสนอง
 
         

 




การเรียนรู้เริ่มเกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งเร้า (Stimulus) มากระตุ้นบุคคล  ระบบประสาทจะตื่นตัวเกิดการรับสัมผัส (Sensation) ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕  แล้วส่งกระแสประสาทไปยังสมองเพื่อแปลความหมายโดยอาศัยประสบการณ์เดิมเป็นการรับรู้ (Perception)ใหม่  อาจสอดคล้องหรือแตกต่างไปจากประสบการณ์เดิม แล้วสรุปผลของการรับรู้นั้น  เป็นความเข้าใจหรือความคิดรวบยอด (Concept) และมีปฏิกิริยาตอบสนอง (Response) อย่างใดอย่างหนึ่งต่อสิ่งเร้า  ตามที่รับรู้ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแสดงว่า  เกิดการเรียนรู้แล้ว
๒.  การเรียนรู้ไม่ใช่วุฒิภาวะแต่การเรียนรู้อาศัยวุฒิภาวะ 
                วุฒิภาวะ คือ ระดับความเจริญเติบโตสูงสุดของพัฒนาการด้านร่างกาย  อารมณ์  สังคม  และสติปัญญาของบุคคลแต่ละวัยที่เป็นไปตามธรรมชาติ  แม้ว่าการเรียนรู้จะไม่ใช่วุฒิภาวะแต่การเรียนรู้ต้องอาศัยวุฒิภาวะด้วย  เพราะการที่บุคคลจะมีความสามารถในการรับรู้หรือตอบสนองต่อสิ่งเร้ามากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับว่าบุคคลนั้นมีวุฒิภาวะเพียงพอหรือไม่
                ๓.  การเรียนรู้เกิดได้ง่าย ถ้าสิ่งที่เรียนเป็นสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน
                การเรียนสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน คือ การเรียนในสิ่งที่ผู้เรียนต้องการจะเรียนหรือสนใจจะเรียน เหมาะกับวัยและวุฒิภาวะของผู้เรียนและเกิดประโยชน์แก่ผู้เรียน  การเรียนในสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียนย่อมทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่าการเรียนในสิ่งที่ผู้เรียนไม่ต้องการหรือไม่สนใจ
                ๔.  การเรียนรู้แตกต่างกันตามตัวบุคคลและวิธีการในการเรียน 
                ในการเรียนรู้สิ่งเดียวกัน บุคคลต่างกันอาจเรียนรู้ได้ไม่เท่ากันเพราะบุคคลอาจมีความพร้อมต่างกัน  มีความสามารถในการเรียนต่างกัน  มีอารมณ์และความสนใจที่จะเรียนต่างกันและมีความรู้เดิมหรือประสบการณ์เดิมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่จะเรียนต่างกัน 
ในการเรียนรู้สิ่งเดียวกัน  ถ้าใช้วิธีเรียนต่างกัน ผลของการเรียนรู้อาจมากน้อยต่างกันได้  และวิธีที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้มากสำหรับบุคคลหนึ่งอาจไม่ใช่วิธีเรียนที่ทำให้อีกบุคคลหนึ่งเกิดการเรียนรู้ได้มากเท่ากับบุคคลนั้นก็ได้

การถ่ายโยงการเรียนรู้

                การถ่ายโยงการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ ๒ ลักษณะ คือ การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางบวก (Positive Transfer) และการถ่ายโยงการเรียนรู้ทางลบ (Negative Transfer
                การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางบวก (Positive Transfer) คือ การถ่ายโยงการเรียนรู้ชนิดที่ผลของการเรียนรู้งานหนึ่งช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อีกงานหนึ่งได้เร็วขึ้น ง่ายขึ้น หรือดีขึ้น  

การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางบวก มักเกิดจาก
                ๑.  เมื่องานหนึ่ง มีความคล้ายคลึงกับอีกงานหนึ่ง  และผู้เรียนเกิดการเรียนรู้งานแรกอย่างแจ่มแจ้งแล้ว
                ๒.  เมื่อผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างงานหนึ่งกับอีกงานหนึ่ง
                ๓.  เมื่อผู้เรียนมีความตั้งใจที่จะนำผลการเรียนรู้จากงานหนึ่งไปใช้ให้เป็นประโยชน์กับการเรียนรู้อีกงานหนึ่ง  และสามารถจำวิธีเรียนหรือผลของการเรียนรู้งานแรกได้อย่างแม่นยำ
                ๔.  เมื่อผู้เรียนเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  โดยชอบที่จะนำความรู้ต่างๆ ที่เคยเรียนรู้มาก่อนมาลองคิดทดลองจนเกิดความรู้ใหม่ๆ
                การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางลบ (Negative Transfer)  คือการถ่ายโยงการเรียนรู้ชนิดที่ผลการเรียนรู้งานหนึ่งไปขัดขวางทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อีกงานหนึ่งได้ช้าลง  หรือยากขึ้นและไม่ได้ดีเท่าที่ควร  การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางลบ อาจเกิดขึ้นได้ ๒ แบบ คือ
                ๑.  แบบตามรบกวน (Proactive Inhibition)  ผลของการเรียนรู้งานแรกไปขัดขวางการเรียนรู้งานที่ ๒
                ๒.  แบบย้อนรบกวน (Retroactive Inhibition)  ผลการเรียนรู้งานที่ ๒ ทำให้การเรียนรู้งานแรกน้อยลง
การเกิดการเรียนรู้ทางลบมักเกิดจาก
-  เมื่องาน ๒ อย่างคล้ายกันมาก แต่ผู้เรียนยังไม่เกิดการเรียนรู้งานใดงานหนึ่งอย่างแท้จริงก่อนที่จะเรียนอีกงานหนึ่ง  ทำให้การเรียนงาน ๒ อย่างในเวลาใกล้เคียงกันเกิดความสับสน
-  เมื่อผู้เรียนต้องเรียนรู้งานหลายๆ อย่างในเวลาติดต่อกัน  ผลของการเรียนรู้งานหนึ่งอาจไปทำให้ผู้เรียนเกิดความสับสนในการเรียนรู้อีกงานหนึ่งได้

การนำความรู้ไปใช้

                ๑.  ก่อนที่จะให้ผู้เรียนเกิดความรู้ใหม่  ต้องแน่ใจว่า ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ใหม่มาแล้ว
                ๒.  พยายามสอนหรือบอกให้ผู้เรียนเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของการเรียนที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง
                ๓.  ไม่ลงโทษผู้ที่เรียนเร็วหรือช้ากว่าคนอื่นๆ และไม่มุ่งหวังว่าผู้เรียนทุกคนจะต้องเกิดการเรียนรู้ที่เท่ากันในเวลาเท่ากัน
                ๔.  ถ้าสอนบทเรียนที่คล้ายกัน ต้องแน่ใจว่าผู้เรียนเข้าใจบทเรียนแรกได้ดีแล้วจึงจะสอนบทเรียนต่อไป
               

๕.  พยายามชี้แนะให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของบทเรียนที่มีความสัมพันธ์กัน

                        ลักษณะสำคัญ ที่แสดงให้เห็นว่ามีการเรียนรู้เกิดขึ้น จะต้องประกอบด้วยปัจจัย  ๓  ประการ  คือ

                .   มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างคงทน   ถาวร

                ๒.  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้นจะต้องเป็นผลมาจากประสบการณ์ หรือการฝึก การปฏิบัติซ้ำๆ  เท่านั้น
                ๓.  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดังกล่าวจะมีการเพิ่มพูนในด้านความรู้  ความเข้าใจ  ความรู้สึกและความสามารถทางทักษะทั้งปริมาณและคุณภาพ

  ทฤษฎีการเรียนรู้   (Theory of Learning)
             ทฤษฎีการเรียนรู้มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนการสอนมาก  เพราะจะเป็นแนวทางในการกำหนดปรัชญาการศึกษาและการจัดประสบการณ์  เนื่องจากทฤษฎีการเรียนรู้เป็นสิ่งที่อธิบายถึงกระบวนการ     วิธีการและเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้และตรวจสอบว่าพฤติกรรมของมนุษย์  มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร

ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญ  แบ่งออกได้  ๒  กลุ่มใหญ่ๆ     คือ

             ๑.   ทฤษฎีกลุ่มสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Associative Theories)
             ๒.   ทฤษฎีกลุ่มความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Theories)

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มสัมพันธ์ต่อเนื่อง

            ทฤษฎีนี้เห็นว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) และการตอบสนอง (Response)  ปัจจุบันเรียกนักทฤษฎีกลุ่มนี้ว่า "พฤติกรรมนิยม" (Behaviorism)  ซึ่งเน้นเกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแปลง    พฤติกรรมที่มองเห็น และสังเกตได้มากกว่ากระบวนการคิด  และปฏิกิริยาภายในของผู้เรียน  ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มนี้แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ ดังนี้
             ๑.   ทฤษฎีการวางเงื่อนไข   (Conditioning Theories)
                  ๑.๑   ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค  (Classical Conditioning Theories)
                  ๑.๒   ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory)
             ๒.   ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง  (Connectionism Theories)
                  ๒.๑   ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง    (Connectionism Theory)   
                  ๒.๒   ทฤษฎีสัมพันธ์ต่อเนื่อง     (S-R Contiguity Theory)

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค

            อธิบายถึงการเรียนรู้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าตามธรรมชาติ และสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขกับการ ตอบสนอง พฤติกรรมหรือการตอบสนองที่เกี่ยวข้องมักจะเป็นพฤติกรรมที่เป็นปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex) หรือ พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องอารมณ์ ความรู้สึก บุคคลสำคัญของทฤษฎีนี้   ได้แก่    Pavlov,  Watson,  Wolpe   etc.
Ivan  P.  Pavlov
            นักสรีรวิทยาชาวรัสเซีย (1849 - 1936)  ได้ทำการทดลองเพื่อศึกษาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากการเชื่อมโยงระหว่างการตอบสนองต่อสิ่งเร้าตามธรรมชาติที่ไม่ได้วางเงื่อนไข  (Unconditioned  Stimulus = UCS)  และสิ่งเร้า ที่เป็นกลาง (Neutral Stimulus)  จนเกิดการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าที่เป็นกลางให้กลายเป็นสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned  Stimulus  =  CS)  และการตอบสนองที่ไม่มีเงื่อนไข  (Unconditioned   Response  = UCR)  เป็นการตอบสนองที่มีเงื่อนไข  (Conditioned   Response  =  CR) ลำดับขั้นตอนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นดังนี้
๑.   ก่อนการวางเงื่อนไข
                  UCS    (อาหาร)                                        UCR     (น้ำลายไหล)
                  สิ่งเร้าที่เป็นกลาง  (เสียงกระดิ่ง)                        น้ำลายไม่ไหล
๒.   ขณะวางเงื่อนไข
                  CS   (เสียงกระดิ่ง) + UCS  (อาหาร)                   UCR    (น้ำลายไหล)
                ๓.   หลังการวางเงื่อนไข
                  CS   (เสียงกระดิ่ง)                                      CR     (น้ำลายไหล)
หลักการเกิดการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น  คือ  การตอบสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไข  (CR)  เกิดจากการนำเอาสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข  (CS)   มาเข้าคู่กับสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข  (UCS) ซ้ำกันหลายๆ  ครั้ง  ต่อมาเพียงแต่ให้สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข  (CS) เพียงอย่างเดียวก็มีผลทำให้เกิดการตอบสนองในแบบเดียวกัน
ผลจากการทดลอง    Pavlov    สรุปหลักเกณฑ์ของการเรียนรู้ได้ ๔ ประการ  คือ
                ๑.   การดับสูญหรือการลดภาวะ (Extinction) เมื่อให้ CR นานๆ  โดยไม่ให้ UCS  เลย การตอบสนองที่มีเงื่อนไข (CR) จะค่อยๆ  ลดลงและหมดไป
                ๒.  การฟื้นกลับหรือการคืนสภาพ  ( Spontaneous Recovery )  เมื่อเกิดการดับสูญของการตอบสนอง (Extinction) แล้วเว้นระยะการวางเงื่อนไขไปสักระยะหนึ่ง  เมื่อให้ CS จะเกิด CR โดยอัตโนมัติ
๓.  การแผ่ขยาย หรือ การสรุปความ (Generalization) หลังจากเกิดการตอบสนองที่มีเงื่อนไข ( CR )  แล้ว  เมื่อให้สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข  (CS)   ที่คล้ายคลึงกัน จะเกิดการตอบสนองแบบเดียวกัน
๔.   การจำแนกความแตกต่าง (Discrimination) เมื่อให้สิ่งเร้าใหม่ที่แตกต่างจากสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข จะมีการจำแนกความแตกต่างของสิ่งเร้า และมีการตอบสนองที่แตกต่างกันด้วย
John  B.   Watson           
นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน   (1878 -  1958)  ได้ทำการทดลองการวางเงื่อนไขทางอารมณ์กับเด็กชายอายุประมาณ  ๑๑  เดือน  โดยใช้หลักการเดียวกับ  Pavlov  หลังการทดลองเขาสรุปหลักเกณฑ์การเรียนรู้ได้  ดังนี้
๑.  การแผ่ขยายพฤติกรรม (Generalization) มีการแผ่ขยายการตอบสนองที่วางเงื่อนไขต่อสิ่งเร้า         ที่คล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
๒.  การลดภาวะ   หรือการดับสูญการตอบสนอง   (Extinction) ทำได้ยากต้องให้สิ่งเร้าใหม่  (UCS ) ที่มีผลตรงข้ามกับสิ่งเร้าเดิม จึงจะได้ผลซึ่งเรียกว่า  Counter  - Conditioning
Joseph   Wolpe
            นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน (1958) ได้นำหลักการ Counter  -  Conditioning  ของ  Watson  ไปทดลองใช้บำบัดความกลัว  (Phobia)  ร่วมกับการใช้เทคนิคผ่อนคลายกล้ามเนื้อ (Muscle Relaxation)   เรียกวิธีการนี้ว่า Desensitization

การนำหลักการมาประยุกต์ใช้ในการสอน

๑.   ครูสามารถนำหลักการเรียนรู้ของทฤษฎีนี้มาทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนที่แสดงออกถึงอารมณ์  ความรู้สึกทั้งด้านดีและไม่ดี รวมทั้งเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ  เช่น  วิชาที่เรียน กิจกรรม หรือครูผู้สอน  เพราะเขาอาจได้รับการวางเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ก็เป็นได้
๒.   ครูควรใช้หลักการเรียนรู้จากทฤษฎีปลูกฝังความรู้สึกและเจตคติที่ดีต่อเนื้อหาวิชา กิจกรรมนักเรียน ครูผู้สอนและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้เกิดในตัวผู้เรียน
๓.   ครูสามารถป้องกันความรู้สึกล้มเหลว  ผิดหวัง และวิตกกังวลของผู้เรียนได้โดยการส่งเสริมให้กำลังใจในการเรียนและการทำกิจกรรม ไม่คาดหวังผลเลิศจากผู้เรียน และหลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์หรือลงโทษผู้เรียนอย่างรุนแรงจนเกิดการวางเงื่อนไขขึ้น กรณีที่ผู้เรียนเกิดความเครียด  และวิตกกังวลมาก ครูควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ผ่อนคลายความรู้สึกได้บ้างตามขอบเขตที่เหมาะสม
ทฤษฎีการวางเขื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์ (Skinner's Operant Conditioning Theory)
            B.F. Skinner (1904 - 1990) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน  ได้ทำการทดลองด้านจิตวิทยาการศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์การเรียนรู้ที่มีการตอบสนองแบบแสดงการกระทำ (Operant Behavior)  สกินเนอร์ได้แบ่ง    พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตไว้ ๒  แบบ  คือ
            ๑.   Respondent Behavior พฤติกรรมหรือการตอบสนองที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ   หรือเป็นปฏิกิริยาสะท้อน  (Reflex)  ซึ่งสิ่งมีชีวิตไม่สามารถควบคุมตัวเองได้  เช่น การกระพริบตา น้ำลายไหล หรือการเกิดอารมณ์     ความรู้สึกต่างๆ
            ๒.   Operant Behavior พฤติกรรมที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตเป็นผู้กำหนด  หรือเลือกที่จะแสดงออกมา   ส่วนใหญ่จะเป็นพฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกในชีวิตประจำวัน  เช่น  กิน  นอน  พูด  เดิน  ทำงาน   ขับรถ  ฯลฯ.
            การเรียนรู้ตามแนวคิดของสกินเนอร์   เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเช่นเดียวกัน แต่สกินเนอร์ให้ความสำคัญต่อการตอบสนองมากกว่าสิ่งเร้า    จึงมีคนเรียกว่าเป็นทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบ  Type R นอกจากนี้สกินเนอร์ให้ความสำคัญต่อการเสริมแรง (Reinforcement) ว่ามีผลทำให้เกิดการเรียนรู้ที่คงทนถาวร  ยิ่งขึ้นด้วย สกินเนอร์ได้สรุปไว้ว่า อัตราการเกิดพฤติกรรมหรือการตอบสนองขึ้นอยู่กับผลของการกระทำ   คือ การเสริมแรง  หรือการลงโทษ ทั้งทางบวกและทางลบ
                                                พฤติกรรม
 


                     การเสริม                                              การลงโทษแรง                                                                                  
 


              ทางบวก      ทางลบ                                         ทางบวก               ทางลบ
 


           ความถี่ของพฤติกรรมเพิ่มขึ้น                                   ความถี่ของพฤติกรรมลดลง

การนำหลักการมาประยุกต์ใช้
                ๑.   การเสริมแรง   และ   การลงโทษ
๒.  การปรับพฤติกรรม   และ  การแต่งพฤติกรรม
๓.  การสร้างบทเรียนสำเร็จรูป
การเสริมแรงและการลงโทษ
            การเสริมแรง (Reinforcement)  คือการทำให้อัตราการตอบสนองหรือความถี่ของการแสดงพฤติกรรมเพิ่มขึ้นอันเป็นผลจากการได้รับสิ่งเสริมแรง (Reinforce) ที่เหมาะสม การเสริมแรงมี  ๒  ทาง ได้แก่
๑.   การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement ) เป็นการให้สิ่งเสริมแรงที่บุคคลพึงพอใจ มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมถี่ขึ้น
๒.   การเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) เป็นการนำเอาสิ่งที่บุคคลไม่พึงพอใจออกไป มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมถี่ขึ้น
            การลงโทษ  (Punishment) คือ  การทำให้อัตราการตอบสนองหรือความถี่ของการแสดงพฤติกรรมลดลง    การลงโทษมี  ๒  ทาง   ได้แก่
๑.   การลงโทษทางบวก (Positive Punishment) เป็นการให้สิ่งเร้าที่บุคคลที่ไม่พึงพอใจ  มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมลดลง
๒.   การลงโทษทางลบ (Negative Punishment) เป็นการนำสิ่งเร้าที่บุคคลพึงพอใจ หรือสิ่งเสริมแรงออกไป มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมลดลง
ตารางการเสริมแรง   (The Schedule of Reinforcement
๑.   การเสริมแรงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Reinforcement) เป็นการให้สิ่งเสริมแรงทุกครั้งที่บุคคลแสดงพฤติกรรมตามต้องการ
๒.  การเสริมแรงเป็นครั้งคราว (Intermittent Reinforcement) ซึ่งมีการกำหนดตารางได้หลายแบบ ดังนี้
     ๒.๑  กำหนดการเสริมแรงตามเวลา (Iinterval schedule)
  ๒.๑.๑    กำหนดเวลาแน่นอน (Fixed Interval Schedules  =  FI
  ๒.๑.๒   กำหนดเวลาไม่แน่นอน (Variable Interval Schedules  =  VI )
     ๒.๒  กำหนดการเสริมแรงโดยใช้อัตรา (Ratio schedule)  ๒.๒.๑   กำหนดอัตราแน่นอน  (Fixed Ratio   Schedules   =   FR
  ๒.๒.๒   กำหนดอัตราไม่แน่นอน (Variable Ratio Schedules   =  VR)

การปรับพฤติกรรมและการแต่งพฤติกรรม

            การปรับพฤติกรรม  (Behavior   Modification) เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ มาเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์  โดยใช้หลักการเสริมแรงและการลงโทษ
            การแต่งพฤติกรรม    (Shaping  Behavior )   เป็นการเสริมสร้างให้เกิดพฤติกรรมใหม่   โดยใช้วิธีการเสริมแรงกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมทีละเล็กทีละน้อย  จนกระทั่งเกิดพฤติกรรมตามต้องการ
บทเรียนสำเร็จรูป     (Programmed   Instruction)
เป็นบทเรียนโปรแกรมที่นักการศึกษา หรือครูผู้สอนสร้างขึ้น ประกอบด้วย เนื้อหา กิจกรรม คำถามและ   คำเฉลย  การสร้างบทเรียนโปรแกรมใช้หลักของ  Skinner  คือเมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาและทำกิจกรรม จบ ๑ บท  จะมีคำถามยั่วยุให้ทดสอบความรู้ความสามารถ  แล้วมีคำเฉลยเป็นแรงเสริมให้อยากเรียนบทต่อๆ ไปอีก
ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์    (Thorndike's  Connectionism Theory)
Edward   L.  Thorndike   (1874 - 1949)  นักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกัน ผู้ได้ชื่อว่าเป็น"บิดาแห่งจิตวิทยาการศึกษา" เขาเชื่อว่า "คนเราจะเลือกทำในสิ่งก่อให้เกิดความพึงพอใจและจะหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ไม่พึงพอใจ"  จากการทดลองกับแมวเขาสรุปหลักการเรียนรู้ได้ว่า เมื่อเผชิญกับปัญหาสิ่งมีชีวิตจะเกิดการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก (Trial and Error)  นอกจากนี้เขายังให้ความสำคัญกับการเสริมแรงว่าเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
กฎการเรียนรู้ของธอร์นไดค์
๑.   กฎแห่งผล (Law of Effect) มีใจความสำคัญคือ ผลแห่งปฏิกิริยาตอบสนองใดที่เป็นที่น่าพอใจ  อินทรีย์ย่อมกระทำปฏิกิริยานั้นซ้ำอีกและผลของปฏิกิริยาใดไม่เป็นที่พอใจบุคคลจะหลีกเลี่ยงไม่ทำปฏิกิริยานั้นซ้ำอีก
๒.  กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) มีใจความสำคัญ ๓ ประเด็น คือ
     ๒.๑  ถ้าอินทรีย์พร้อมที่จะเรียนรู้แล้วได้เรียน อินทรีย์จะเกิดความพอใจ
     ๒.๒  ถ้าอินทรีย์พร้อมที่จะเรียนรู้แล้วไม่ได้เรียน  จะเกิดความรำคาญใจ
     ๒.๓  ถ้าอินทรีย์ไม่พร้อมที่จะเรียนรู้แล้วถูกบังคับให้เรียน  จะเกิดความรำคาญใจ
๓.  กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)  มีใจความสำคัญคือ พฤติกรรมใดที่ได้มีโอกาสกระทำซ้ำบ่อยๆ และมีการปรับปรุงอยู่เสมอ  ย่อมก่อให้เกิดความคล่องแคล่วชำนิชำนาญ  สิ่งใดที่ทอดทิ้งไปนานย่อมกระทำได้ไม่ดีเหมือนเดิมหรืออาจทำให้ลืมได้
การนำหลักการมาประยุกต์ใช้
๑.  การสอนในชั้นเรียนครูควรกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน จัดแบ่งเนื้อหาเป็นลำดับเรียงจากง่ายไปยาก  เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจติดตามบทเรียนอย่างต่อเนื่อง  เนื้อหาที่เรียนควรมีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันของผู้เรียน
๒.  ก่อนเริ่มสอนผู้เรียนควรมีความพร้อมที่จะเรียน   ผู้เรียนต้องมีวุฒิภาวะเพียงพอและไม่ตกอยู่ในสภาวะบางอย่าง   เช่น  ป่วย เหนื่อย ง่วง หรือ หิว  จะทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพ
๓.  ครูควรจัดให้ผู้เรียนมีโอกาสฝึกฝนและทบทวนสิ่งที่เรียนไปแล้ว แต่ไม่ควรให้ทำซ้ำซากจนเกิดความเมื่อยล้าและเบื่อหน่าย
๔.  ครูควรให้ผู้เรียนได้มีโอกาสพึงพอใจและรู้สึกประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรม   โดยครูต้องแจ้งผลการทำกิจกรรมให้ทราบ หากผู้เรียนทำได้ดีควรชมเชยหรือให้รางวัล หากมีข้อบกพร่องต้องชี้แจงเพื่อการปรับปรุงแก้ไข
ทฤษฎีสัมพันธ์ต่อเนื่องของกัทรี  (Guthrie's Contiguity Theory)
Edwin R. Guthrie   นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน  เป็นผู้กล่าวย้ำถึงความสำคัญของความใกล้ชิดต่อเนื่องระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง  ถ้ามีการเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดและแนบแน่นเพียงครั้งเดียวก็สามารถเกิดการเรียนรู้ได้  (One Trial Learning ) เช่น ประสบการณ์ชีวิตที่วิกฤตหรือรุนแรงบางอย่าง  ได้แก่  การประสบอุบัติเหตุที่รุนแรง การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก  ฯลฯ

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มความรู้ความเข้าใจ 

ทฤษฎีการเรียนรู้ที่มองเห็นความสำคัญของกระบวนการคิดซึ่งเกิดขึ้นภายในตัวบุคคลในระหว่างการเรียนรู้มากกว่าสิ่งเร้าและการตอบสนอง   นักทฤษฎีกลุ่มนี้เชื่อว่า  พฤติกรรมหรือการตอบสนองใดๆ ที่บุคคลแสดงออกมานั้นต้องผ่านกระบวนการคิดที่เกิดขึ้นระหว่างที่มีสิ่งเร้าและการตอบสนอง   ซึ่งหมายถึงการหยั่งเห็น (Insight)  คือความรู้ความเข้าใจในการแก้ปัญหา โดยการจัดระบบการรับรู้แล้วเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มนี้ยังแบ่งย่อยได้อีกดังนี้
๑.   ทฤษฎีกลุ่มเกสตัลท์  (Gestalt's Theory)
๒.   ทฤษฎีสนามของเลวิน ( Lewin's Field Theory)
ทฤษฎีกลุ่มเกสตัลท์   (Gestalt's  Theory)
นักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์  (Gestalt Psychology) ชาวเยอรมัน ประกอบด้วย   Max   Wertheimer,  Wolfgang  Kohler และ Kurt  Koftka  ซึ่งมีความสนใจเกี่ยวกับการรับรู้ (Perception ) การเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์เก่าและใหม่  นำไปสู่กระบวนการคิดเพื่อการแก้ปัญหา (Insight)
องค์ประกอบของการเรียนรู้  มี   ๒  ส่วน   คือ
๑.   การรับรู้  (Perception)  เป็นกระบวนการแปลความหมายของสิ่งเร้าที่มากระทบประสาทสัมผัส ซึ่งจะเน้นความสำคัญของการรับรู้เป็นส่วนรวมที่สมบูรณ์มากกว่าการรับรู้ส่วนย่อยทีละส่วน
๒.   การหยั่งเห็น (Insight) เป็นการรู้แจ้ง เกิดความคิดความเข้าใจแวบเข้ามาทันทีทันใดขณะที่บุคคลกำลังเผชิญปัญหาและจัดระบบการรับรู้ ซึ่งเดวิส (Davis, 1965) ใช้คำว่า Aha ' experience 
หลักของการหยั่งเห็นสรุปได้ดังนี้
      ๒.๑   การหยั่งเห็นขึ้นอยู่กับสภาพปัญหา  การหยั่งเห็นจะเกิดขึ้นได้ง่ายถ้ามีการรับรู้องค์ประกอบของปัญหาที่สัมพันธ์กัน บุคคลสามารถสร้างภาพในใจเกี่ยวกับขั้นตอนเหตุการณ์ หรือสภาพการณ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อพยายามหาคำตอบ
     ๒.๒   คำตอบที่เกิดขึ้นในใจถือว่าเป็นการหยั่งเห็น  ถ้าสามารถแก้ปัญหาได้บุคคลจะนำมาใช้ในโอกาสต่อไปอีก
     ๒.๓   คำตอบหรือการหยั่งเห็นที่เกิดขึ้นสามารถนำไปประยุกต์ ใช้ในสถานการณ์ใหม่ได้
ทฤษฎีสนามของเลวิน   (Lewin's Field Theory)                                                                                     
                                Kurt Lewin  นักจิตวิทยาชาวเยอรมัน (1890 - 1947)  มีแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้เช่นเดียวกับกลุ่มเกสตัลท์  ที่ว่าการเรียนรู้  เกิดขึ้นจากการจัดกระบวนการรับรู้  และกระบวนการคิดเพื่อการแก้ไขปัญหาแต่เขาได้นำเอาหลักการทางวิทยาศาสตร์มาร่วมอธิบายพฤติกรรมมนุษย์  เขาเชื่อว่าพฤติกรรมมนุษย์แสดงออกมาอย่างมีพลังและทิศทาง  (Field of Force)   สิ่งที่อยู่ในความสนใจและต้องการจะมีพลังเป็นบวก  ซึ่งเขาเรียกว่า Life space   สิ่งใดที่อยู่นอกเหนือความสนใจจะมีพลังเป็นลบ




Lewin    กำหนดว่า  สิ่งแวดล้อมรอบตัวมนุษย์    จะมี  ๒  ชนิด  คือ
๑.    สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ  (Physical   environment)
๒.    สิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยา  (Psychological environment)  เป็นโลกแห่งการรับรู้ตามประสบการณ์ของแต่ละบุคคลซึ่งอาจจะเหมือนหรือแตกต่างกับสภาพที่สังเกตเห็นโลก หมายถึง Life space นั่นเอง
Life space ของบุคคลเป็นสิ่งเฉพาะตัว ความสำคัญที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน  คือ  ครูต้องหาวิธีทำให้ตัวครูเข้าไปอยู่ใน  Life space  ของผู้เรียนให้ได้

การนำหลักการทฤษฎีกลุ่มความรู้  ความเข้าใจ  ไปประยุกต์ใช้

๑.   ครูควรสร้างบรรยากาศการเรียนที่เป็นกันเอง  และมีอิสระที่จะให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ทั้งที่ถูกและผิด  เพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของข้อมูล และเกิดการหยั่งเห็น
๒.   เปิดโอกาสให้มีการอภิปรายในชั้นเรียน   โดยใช้แนวทางต่อไปนี้
      ๒.๑    เน้นความแตกต่าง
      ๒.๒    กระตุ้นให้มีการเดาและหาเหตุผล
      ๒.๓    กระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม
      ๒.๔    กระตุ้นให้ใช้ความคิดอย่างรอบคอบ
      ๒.๕    กำหนดขอบเขตไม่ให้อภิปรายออกนอกประเด็น
๓.   การกำหนดบทเรียนควรมีโครงสร้างที่มีระบบเป็นขั้นตอน   เนื้อหามีความสอดคล้องต่อเนื่องกัน
๔.   คำนึงถึงเจตคติและความรู้สึกของผู้เรียน  พยายามจัดกิจกรรมที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์  ผู้เรียนนำไปใช้ประโยชน์ได้  และควรจัดโอกาสให้ผู้เรียนรู้สึกประสบความสำเร็จด้วย
๕.   บุคลิกภาพของครูและความสามารถในการถ่ายทอด  จะเป็นสิ่งจูงใจให้ผู้เรียนมีความศรัทธาและครูจะสามารถเข้าไปอยู่ใน Life space ของผู้เรียนได้
ทฤษฎีปัญญาสังคม (Social Learning Theory)
Albert  Bandura  (1962 - 1986)   นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้พัฒนาทฤษฎีนี้ขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าของตนเอง  เดิมใช้ชื่อว่า  "ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม" (Social Learning Theory)  ต่อมาเขาได้เปลี่ยนชื่อทฤษฎีเพื่อความเหมาะสมเป็น  "ทฤษฎีปัญญาสังคม"


ทฤษฎีปัญญาสังคมเน้นหลักการเรียนรู้โดยการสังเกต (Observational Learning) เกิดจากการที่บุคคลสังเกตการกระทำของผู้อื่นแล้วพยายามเลียนแบบพฤติกรรมนั้น ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมทางสังคมเราสามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน  เช่น  การออกเสียง   การขับรถยนต์  การเล่นกีฬาประเภทต่างๆ  เป็นต้น

ขั้นตอนของการเรียนรู้โดยการสังเกต

๑.  ขั้นให้ความสนใจ  (Attention Phase)  ถ้าไม่มีขั้นตอนนี้ การเรียนรู้อาจจะไม่เกิดขึ้น  เป็นขั้นตอน    ที่ผู้เรียนให้ความสนใจต่อตัวแบบ (Modeling) ความสามารถ ความมีชื่อเสียง และคุณลักษณะเด่นของตัวแบบจะเป็นสิ่งดึงดูดให้ผู้เรียนสนใจ
๒. ขั้นจำ  (Retention Phase) เมื่อผู้เรียนสนใจพฤติกรรมของตัวแบบ จะบันทึกสิ่งที่สังเกตได้ไว้ในระบบความจำของตนเอง  ซึ่งมักจะจดจำไว้เป็นจินตภาพเกี่ยวกับขั้นตอนการแสดงพฤติกรรม
๓.  ขั้นปฏิบัติ (Reproduction Phase)  เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนลองแสดงพฤติกรรมตามตัวแบบ  ซึ่งจะส่งผลให้มีการตรวจสอบการเรียนรู้ที่ได้จดจำไว้
๔.  ขั้นจูงใจ (Motivation Phase)  ขั้นตอนนี้เป็นขั้นแสดงผลของการกระทำ (Consequence) จากการแสดงพฤติกรรมตามตัวแบบ  ถ้าผลที่ตัวแบบเคยได้รับ (Vicarious Consequence) เป็นไปในทางบวก (Vicarious Reinforcement)  ก็จะจูงใจให้ผู้เรียนอยากแสดงพฤติกรรมตามแบบ  ถ้าเป็นไปในทางลบ (Vicarious Punishment) ผู้เรียนก็มักจะงดเว้นการแสดงพฤติกรรมนั้นๆ 
หลักพื้นฐานของทฤษฎีปัญญาสังคม มี  ๓  ประการ  คือ
๑.  กระบวนการเรียนรู้ต้องอาศัยทั้งกระบวนการทางปัญญา และทักษะการตัดสินใจของผู้เรียน
๒.  การเรียนรู้เป็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบ  ๓  ประการ  ระหว่าง ตัวบุคคล (Person)  สิ่งแวดล้อม  (Environment)  และพฤติกรรม (Behavior) ซึ่งมีอิทธิพลต่อกันและกัน

                                                                                         P


    B                                                                   E


๓.  ผลของการเรียนรู้กับการแสดงออกอาจจะแตกต่างกัน สิ่งที่เรียนรู้แล้วอาจไม่มีการแสดงออกก็ได้ เช่น   ผลของการกระทำ (Consequence) ด้านบวก เมื่อเรียนรู้แล้วจะเกิดการแสดงพฤติกรรมเลียนแบบ แต่ผลการกระทำด้านลบ อาจมีการเรียนรู้แต่ไม่มีการเลียนแบบ

 

 


การนำหลักการมาประยุกต์ใช้


๑.  ในห้องเรียนครูจะเป็นตัวแบบที่มีอิทธิพลมากที่สุด  ครูควรคำนึงอยู่เสมอว่า  การเรียนรู้โดยการสังเกตและเลียนแบบจะเกิดขึ้นได้เสมอ  แม้ว่าครูจะไม่ได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ก็ตาม
๒.  การสอนแบบสาธิตปฏิบัติเป็นการสอนโดยใช้หลักการและขั้นตอนของทฤษฎีปัญญาสังคมทั้งสิ้น       ครูต้องแสดงตัวอย่างพฤติกรรมที่ถูกต้องที่สุดเท่านั้น  จึงจะมีประสิทธิภาพในการแสดงพฤติกรรมเลียนแบบ     ความผิดพลาดของครูแม้ไม่ตั้งใจ  ไม่ว่าครูจะพร่ำบอกผู้เรียนว่าไม่ต้องสนใจจดจำ  แต่ก็ผ่านการสังเกตและการรับรู้ของผู้เรียนไปแล้ว
๓.  ตัวแบบในชั้นเรียนไม่ควรจำกัดไว้ที่ครูเท่านั้น ควรใช้ผู้เรียนด้วยกันเป็นตัวแบบได้ในบางกรณี        โดยธรรมชาติเพื่อนในชั้นเรียนย่อมมีอิทธิพลต่อการเลียนแบบสูงอยู่แล้ว ครูควรพยายามใช้ทักษะจูงใจให้ผู้เรียนสนใจและเลียนแบบเพื่อนที่มีพฤติกรรมที่ดี มากกว่าผู้ที่มีพฤติกรรมไม่ดี

กระบวนการเรียนการสอน  ประกอบด้วย
                         1. หลักสูตร
                                1.1 วิเคราะห์หลักสูตร
                                1.2 กำหนดจุดประสงค์
                                1.3 การวางแผนการใช้หลักสูตร
                         2. การสอน
                                2.1 เขียนแผนการสอน  (จุดประสงค์ การสอน สื่อ)
                                2.2 เตรียมสอน
                                2.3 ดำเนินการ (จริงจัง มีชีวิตชีวา จิตวิทยา)
                         3. การวัดผลและประเมินผล
                                3.1 ความถูกต้อง
                                3.2 ความน่าเชื่อถือ
                                3.3 ความยุติธรรม
หลักสำคัญของการสอน
                         การสอนที่จะส่งเสริมให้ผู้เรียนเจริญงอกงามทุกวิถีทางนั้น ครูจะต้องยึดหลักในการสอนดังนี้
                         1. ให้ผู้เรียนได้ลงมือกระทำ  ทดลอง ค้นคว้า แก้ไขปัญหาด้วยตนเอง  ไม่ใช่จากการบอกครู  การที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือกระทำ  ค้นคว้า  แก้ปัญหาด้วยตนเอง  จะช่วยให้เด็กเป็นคนเชื่อมั่นในตัวเอง  มีเหตุมีผล  เกิดความชำนิชำนาญในสิ่งที่เรียน  และสามารถนำเอาสิ่งที่เรียนนั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้  นับเป็นการส่งเสริมความเจริญงอกงามทุกวิถีทาง
                         2. ให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ด้วยตนเอง  สิ่งต่าง ๆ ที่ผู้เรียนได้ผ่าน ได้พบได้เห็นด้วยตนเอง  ย่อมจะทำให้ผู้เรียนสามารถจำได้ดี  และรู้ได้อย่างละเอียดถี่ถ้วนกว่าสิ่งที่ได้รับจากคำบอกเล่าจากผู้อื่น
                         หลักนี้เป็นความจริง ดังนั้นเพื่อที่จะเป็นการส่งเสริมให้เด็กได้เจริญทุกวิถีทาง  ครูจึงควรสอนให้ผู้เรียนมีประสบการณ์เอง
                         3. การสอนที่ได้ผลดี  จะต้องเริ่มต้นด้วยสภาพการณ์ที่เป็นปัญหา  (Teaching  starts  with  problematic  situation)  ปัญหาที่เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนนั้น  เป็นปัญหาที่ผู้เรียนสนใจและเกิดความต้องการที่จะแก้ปัญหา  ผู้เรียนมีความกระหายที่จะแก้ปัญหา  ครูมีหน้าที่คอยแนะนำให้ผู้เรียนได้แก้ปัญหาด้วยตัวของผู้เรียนเอง  อย่าลืมว่าผู้เรียนที่จะเรียนได้ดีนั้นจะต้องเริ่มต้นด้วยการค้นหาดูว่า
                                3.1 มีปัญหาอะไรบ้างที่ต้องแก้ไข  คือ ครูจะต้องช่วยเหลือแนะนำให้ผู้เรียนทำความเข้าใจกับปัญหาโดยละเอียดลออ
                                3.2 หาทางแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไป  เมื่อได้ทำความเข้าใจกับปัญหาดีแล้ว  ก็ทำการแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไป  จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างดี
                         4. การสอนจะดำเนินไปด้วยดี  ผู้สอนจะต้องเข้าใจและนับถือในตัวผู้เรียนแต่ละบุคคล  ครูจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น  และรับการสอนจากครูโดยเสรี  ไม่ใช่เป็นการบังคับว่าต้องเรียนอย่างนั้นอย่างนี้  ทั้งนี้ครูผู้สอนจะต้องเป็นนักประชาธิปไตย และค่อย ๆ ปลูกฝังประชาธิปไตยให้แก่ผู้เรียนอีกด้วย
                         5. ผู้สอนจะต้องเข้าใจและนับถือเรื่องที่สอน  หมายความว่าผู้สอนและต้องเตรียมความรู้ให้กว้างขวางล่วงหน้าเสมอ  เพื่อให้การสอนเป็นผลดีแกผู้เรียน  ไม่ใช่ว่าสักแต่สอนไปวันหนึ่ง ๆ เท่านั้น
                         6. ผู้สอนจะต้องปรับปรุงวิธีสอนของตนให้เหมาะสมเสมอ  โดยถือว่าผู้เรียนแต่ละคนแตกต่างกัน  การที่จะสอนอะไรจึงต้องดูความแตกต่างระหว่างบุคคล  ปรับปรุงวิธีสอนของตนอยู่เสมอ  ไม่ใช่วิธีการสอนแต่เพียงอย่างเดียวตลอดไป  เพราะจะทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย  วิธีสอนบางอย่างผู้เรียนบางคนก็อาจจะเรียนได้  แต่ผู้เรียนบางคนก็เบื่อหน่าย  การดัดแปลงแก้ไขวิธีสอนโดยใช้หลาย ๆ วิธี จึงนับเป็นเทคนิคในการสอนของครูอย่างหนึ่ง



ลักษณะของการสอนที่ดี  สรุปเป็นหัวข้อได้ดังนี้
                         1. ลักษณะของการสอนที่ดี  ครูควรเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี  การเตรียมการสอนนับว่าเป็นเทคนิคของการสอนอย่างหนึ่ง  ครูจึงต้องสนใจในเรื่องการเตรียมบทเรียน  และทำบันทึกการสอน  เพื่อเป็นแผนในการสอน  ว่าจะสอนอะไร  อย่างไร  ไม่ใช่พอเข้าชั้นก็สอนไปตามยถากรรม  การกระทำเช่นนี้ย่อมไม่ใช่ลักษณะการสอนที่ดี
                         2. ลักษณะของการสอนที่ดี  ควรสอนวิชาที่มีรากฐานจากความสนใจ  ความต้องการของผู้เรียน  ไม่ใช่เป็นการกดขี่  บีบบังคับให้ผู้เรียนเรียน
                         3. ลักษณะของการสอนที่ดี วิธีสอนและเนื้อเรื่องที่สอน  ควรเหมาะกับความแตกต่างระหว่างบุคคล
                         4. ลักษณะของการสอนที่ดี  ควรสอนตามระเบียบแห่งการเรียนรู้ตามธรรมชาติของผู้เรียน  ครูจะต้องเตรียมกระบวนการเรียนมาโดยเรียบร้อยแล้ว  โดยการจัดบทเรียนให้เหมาะสมกับวัย  ความสามารถ  ประสบการณ์เดิมของผู้เรียน  นำผู้เรียนให้ใช้ความสังเกต  พิจารณาค้นคว้าหาเหตุผลและนำผู้เรียนให้มีการฝึกหัด และปฏิบัติให้เกิดความชำนิชำนาญ
                         5. ลักษณะของการสอนที่ดี  วิชาต่าง ๆ ที่สอนควรให้มีความสัมพันธ์กัน  ไม่ใช่เน้นแต่สอนวิชาใดวิชาหนึ่ง  วิชาในหมวดภาษาทุก ๆ วิชามีความสัมพันธ์กัน  ถ้าเน้นวิชาใดวิชาหนึ่งก็อาจทำให้การเรียนของผู้เรียนได้ผลไม่เท่าที่ควร
                         6. ลักษณะของการสอนที่ดี  บทเรียนที่จะสอนต่อไปใหม่  ควรให้มีความสัมพันธ์กับบทเรียนเดิม  โดยถือเอาประสบการณ์เดิมเป็นรากฐานในการเรียนต่อไป  มิฉะนั้นผู้เรียนอาจไม่รู้เรื่อง
                         7. ลักษณะของการสอนที่ดี  ควรใช้วิธีที่ให้ผู้เรียนได้ คิด ค้น สังเกต รู้จักเปรียบเทียบหาเหตุผล และตัดสินใจด้วยตนเอง  ไม่ใช่ใครมาบอกให้  การสอนที่มีลักษณะเช่นนี้จะช่วยให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง  ซึ่งเป็นลักษณะที่ดีของการศึกษา
                         8. ลักษณะของการสอนที่ดี  ควรสอนให้ผู้เรียนได้ใช้ประสาทสัมผัสทุกส่วนให้มากที่สุด  โดยเฉพาะประสาทสัมผัสที่ 5
                         9. ลักษณะการสอนที่ดี  ควรเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนด้วยการกระทำที่มีความคิดริเริ่ม  และความคิดที่จะสร้างสรรค์
                         10. ลักษณะการสอนที่ดี  อุปกรณ์การสอนย่อมเป็นสิ่งสำคัญมากในการสอน  ครูควรพยายามที่จะจัดหามาใช้ในการสอนเสมอ  แม้ว่าบางครั้งครูหาของจริงไม่ได้  ก็ควรเป็นของจำลอง  หรือสิ่งของอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่การสอน
                         11. ลักษณะการสอนที่ดีนั้น  ควรเป็นการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าใจประชาธิปไตย  ฉะนั้นการสอนจึงเป็นการบังคับให้ผู้เรียนต้องทำแต่การส่งเสริมให้ผู้เรียนมีระเบียบวินัยด้วยตนเอง  (Self – discipline)  การข่มขู่  การทำโทษให้เจ็บพึงละเว้น  เพราะจะไม่เกิดผลดีเท่าที่ควร  การที่จะให้ผู้เรียนได้เข้าในประชาธิปไตย  และมีวินัยด้วยตนเอง  ครูจึงต้องใช้จิตวิทยาเข้าช่วยในการสอนด้วย
                         12. ลักษณะของการสอนที่ดีในปัจจุบันไม่ใช่เป็น  การบอก  แต่เป็นการแนะนำให้ผู้เรียนได้คิดแก้ปัญหา  ร่วมอภิปรายโดยกว้างขวาง  และนอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ อีกหลายอย่าง  เช่นการศึกษานอกสถานที่  การแสดงละคร  การแสดงนิทรรศการ เป็นต้น  เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียน  ได้คิดแก้ปัญหาเหล่านั้น
                         13. ลักษณะการสอนที่ดีจะต้องทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ  เกิดความพอใจ  สนใจ  และตั้งใจที่จะเรียน
                         14. ลักษณะการสอนที่ดี  ย่อมก่อให้เกิด  ศีลธรรม  ความประพฤติ  มรรยาท  อัธยาศัย  และการควบคุมขึ้นในตัวผู้เรียนด้วย  ซึ่งเป็นผลพลอยได้  นอกเหนือจากสิ่งที่สอน
                         15. ลักษณะของการสอนที่ดีย่อไม่ตายตัวลงไปว่า  จะต้องใช้วิธีนั้น  วิธีนี้  แต่เป็นการสอนที่ยืดหยุ่นได้  โดยการนำเอาหลักการสอนแบบต่าง ๆ มาดัดแปลงใช้ให้บังเกิดผล  เพื่อส่งเสริมความเจริญงอกงามให้แก่ผู้เรียน  และควรพยายามให้ผู้เรียนได้บอกครูมากกว่าครูบอกผู้เรียน
                         16. ลักษณะของการสอนที่ดี  ควรสอนจากรูปธรรมไปหานามธรรม  (Teaching  from  Connect  abstract)  วิธีการเช่นนี้  ครูสมัยเก่าทราบได้ดีว่า  ผู้เรียนจะเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ง่ายขึ้น  ถ้าหากสิ่งที่เรียนเป็นรูปธรรม  เป็นพื้นฐานสำหรับการเรียนรู้  และช่วยเพิ่มความเข้าใจในสิ่งที่เรียน  นักจิตวิทยาเชื่อว่าการสอนโดยวิธีนี้เป็นการช่วยเพิ่มพูนสติปัญญา  และกระสวนแห่งความคิดให้แก่ผู้เรียน
                         17. ลักษณะของการสอนที่ดี  ควรสอนให้ผู้เรียนใช้ความคิดวิพากษ์วิจารณ์ เช่น  ในการเรียนวรรณคดี  แทนที่จะสอนให้รู้เรื่องวรรณคดีเท่านั้น  ก็จะสอนให้รู้ซึ้งถึงความรู้  ความคิดเบื้องหลังเรื่องราวในวรรณคดีนั้น ๆ สอนให้รู้จักวิจารณ์เปรียบเทียบวรรณคดีในสมัยต่าง ๆ
                         18. ลักษณะของการสอนที่ดี  ควรสอนโดยสำรวจปัญหา  ตั้งสมมติฐาน  ค้นคว้า  ทดลองแล้วสรุปความรู้และความคิดออกมาเป็นทฤษฎี  เช่น ในการเรียนวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ

เทคนิคย่อ ๆ ของการสอน  (Minor  technique)  คำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ คือ

                         1. Question  การใช้คำถามในการสอน
                         2. Assignment  การกำหนดงานให้ผู้เรียนทำ
                         3. Activities  การจัดกิจกรรมให้แก่ผู้เรียน เช่น การรายงาน (Report)
                       การอภิปราย (Discussion)
                         4. Examination  (การทดสอบ)




เทคนิคอย่างกว้าง ๆ ของการสอน  (Major  Techniques)
                         1. การใช้เทคนิคในการแก้ปัญหา  (Problem  Techniques)  การสอนที่จะเป็นผลดีนั้น  เราเริ่มจากปัญหา  และการแก้ปัญหานั้น ครูจำเป็นต้องใช้วิธีสอนหลาย ๆ วิธี  เพื่อช่วยในการแก้ปัญหา  วิธีที่ได้ผลมากที่สุด คือวิธีการวิทยาศาสตร์  (Scientific  Method)
                               1.1 ขั้นตั้งปัญหาและทำความเข้าใจกับปัญหา  (Define  the  Problem)
                               1.2 ขั้นแยกแยะปัญหาและการวางแผนการแก้ปัญหา  (Setting  up  the  Hypothesis)
                                1.3 ขั้นลงมือแก้ปัญหา  (Finding  Evidence)
                                1.4 ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล  (Analysis  of  Data)  และรวบรวม  (Conclusion)
                                1.5 ขั้นสรุปผล  ประเมินค่า  (Evaluation)  และแสดงผล
                         2. การใช้เทคนิคในการฝึกฝน  (Drill  Technique)  การเรียนอะไรนอกจากจะมีการแก้ปัญหา
แล้ว  จะต้องมีการฝึกฝนทบทวน  เพื่อให้จดจำได้ตลอดไป  หรือเรียกว่าสอนเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจ  มีความถาวร  (Teaching  for  Permanence)
                                2.1 Drill  (การฝึก)  หลักของการฝึกฝน
                                      2.1.1 ต้องให้ผู้เรียนเข้าใจเสียก่อนว่า  เรื่องที่ตนจะฝึกฝนนั้นใช้หลักเกณฑ์ในเนื้อหาวิชาอย่างไรบ้าง
                                      2.1.2 ต้องให้ผู้เรียนเข้าใจว่าจะฝึกฝนอย่างไร
                                      2.1.3 ควรแบ่งเรื่องที่จะให้ผู้เรียนฝึกฝนนั้นออกเป็นหน่วยย่อย ๆ อย่างมีระเบียบ
                                      2.1.4 การฝึกฝนควรดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้ผลเป็นที่น่าพอใจ  การฝึกฝนโดยทั่วไป  จะต้องตั้งอยู่บนรากฐานของความเข้าใจ  (Understanding)
                                2.2 Review  (การทบทวน)  การทวนคือการระลึกถึงความคิดและการกระทำที่เป็นมาแล้วแต่หนหลัง  เพื่อช่วยในการสร้างความหมายใหม่ ๆ ความสัมพันธ์ใหม่ ๆ หรือวิธีการกระทำใหม่ ๆ ขึ้น  การทบทวนในปัจจุบัน  เราต้องการให้ผู้เรียนได้มีส่วนเองมากที่สุด  โดยครูกำหนดให้ผู้เรียนไปดูแล้วเอามาทบทวน  การทบทวนมีประโยชน์ คือ
                                      2.2.1 ช่วยเตือนความจำในสิ่งที่กระทำหรือเรียนมาแล้ว
                                      2.2.2 เพื่อรวบรวมจัดสิ่งที่เรียนมาแล้วให้เข้ารูปเป็นระเบียบ
                                      2.2.3 เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมองเห็นความเจริญของการงานโดยตลอด
                                      2.2.4 เพื่อช่วยขยาย และเพิ่มเติมความรู้ที่เรียนมาแล้วให้กว้างขวางออกไป
                                      2.2.5 เพื่อช่วยเป็นพื้นความรู้  สำหรับการเรียบเรียงเรื่องใหม่ต่อไป
                                      2.2.6 เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจยิ่งขึ้น
                                      2.2.7 เพื่อช่วยส่งเสริมความสนใจใหม่ในสิ่งที่เรียนไปแล้ว
                                2.3 Maintenance  (การเก็บรักษาความรู้ความเข้าใจ และทักษะไว้)  เป็นโครงการร่วมระหว่าง  Drill  และ  Review  เข้าด้วยกัน  เพื่อไม่ให้ผู้เรียนลืมข้อเท็จจริง  (Fact)  และความคิดรวบยอด  (Concept)  ในวิชาที่เรียน  หลักของ  Maintenance  คือ
                                      2.3.1 การเลือกเนื้อเรื่องที่จะให้มีการฝึกฝน  และทบทวนต้องให้มีทักษะที่สำคัญ  มีความสัมพันธ์ระหว่างหลักเกณฑ์และปัญหาที่ต้องขบคิด
                                      2.3.2 ต้องให้มีการสืบสวนค้นคว้าหาข้อบกพร่องของตนได้  (Self – Diagnostic)  เพื่อว่าผู้เรียนจะได้หาข้อบกพร่องของตนเองได้
                                      2.3.3 ต้องให้มีการฝึกสำหรับงานแก้ไข  (Remedial  work)  และควรมีระเบียบแสดงถึงข้อบกพร่อง  (Diagnostic  record)  ซึ่งผู้เรียนไม่เพียงแต่จะทราบสิ่งที่เขาจะต้องฝึกฝน  แต่ยังสามารถทำ
การแก้ไขได้ด้วย
                                      2.3.4 การให้ทำแบบฝึกหัดในขั้นนี้  ควรมีการให้คะแนนเพื่อเปรียบเทียบความสำเร็จและก้าวหน้าของเขา  และยังช่วยกระตุ้นความภูมิใจ  และความพยายาม
                         3. การใช้เทคนิคให้เกิดความนิยมชมชอบ  (Appreciation  technique)
                                3.1 ต้องสร้างบรรยากาศแห่งความสนใจให้เกิดขึ้น  เรียกว่า  Creating  an  Atmosphere  of  Interest
                                3.2 ต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความสำเร็จในการทำงานพึงประสงค์
                                3.3 การสอนนั้น  จะต้องไม่ใช้กลวิธีสอนที่เหนือความสามารถและความสนใจของผู้เรียน

���� /�� � 0 � �ารสอนมาล่วงหน้าได้

11.    ทำให้ผู้บรรยายหรือผู้สอนมีความมั่นใจ  เพราะได้เตรียมการมาอย่างดี
12.    ใช้กับกลุ่มผู้เรียนใหม่ ๆ ได้
13.    ใช้ได้ดีมากในสถานที่ที่ไม่ต้องการให้มีฝุ่นผงฝุ่นชอล์กรบกวน  เช่น  ห้องปรับอากาศ
14.    ผู้สอนสามารถชี้สิ่งต่าง ๆ บนแผ่นโปร่งใส  โดยไม่ต้องหันไปชี้ภาพบนจอ
15.    จัดทำและเก็บรักษาได้ง่าย
16.    แผ่นภาพโปร่งใส่ที่เตรียมเป็นชุด ๆ อย่างดี  สามารถเก็บไว้ใช้ได้อย่างถาวร  จะใช้อีกกี่ครั้งก็ได้  เสียหายยาก
17.    วัสดุที่นำมาใช้กับเครื่องก็มีราคาถูก  แม้แต่ราคาของเครื่องฉายก็ไม่แพง
18.    เคลื่อนย้ายง่าย
19.    ไม่ต้องใช้ห้องที่มืดมาก
20.    ผู้สอนสามารถผลิตขึ้นใช้เองได้
21.    สามารถเลือกใช้เป็นแฟ้มได้  โดยไม่ต้องใช้ทั้งหมด
22.    ใช้ร่วมกับอุปกรณ์อื่นได้  เช่น ใช้ร่วมกันเทป (Slide – Tape  Synchronized)
23.    ใช้เป็นรายบุคคลหรือเป็นหมู่ก็ได้  โดยอาศัยฟังคำบรรยายจากเทป
24.    จะดูนานเท่าไรก็ได้
25.    ใช้สอนได้ทุกวิชา  ทุกระดับ

การใช้สไลด์ประกอบการเรียนการสอน  อาจทำได้หลายรูปแบบ  เช่น

1.            ใช้เป็นสื่อรายบุคคล  โดยจัดเตรียมสถานที่และเครื่องฉายไว้ให้พร้อม  มีคู่มือแนะนำการใช้  ผู้เรียนที่สนใจสามารถยืมแผ่นสไลด์ไปฉายดูได้เองตามลำพัง
2.            ใช้เป็นกลุ่มย่อยในศูนย์การเรียน  โดยใช้เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่ง  ควรเป็นสไลด์ที่มีเนื้อหาสั้น ๆ ไม่ใช้เวลามากจนเกินไป
3.            ใช้ส่วนหนึ่งของระบบการสอนของครู  ส่วนใหญ่จะใช้ในขั้นของการสอนโดยแจ้งให้ผู้เรียนทราบตามขบวนการดังนี้
-                   แจ้งให้ทราบว่าเป็นสไลด์เรื่องอะไร
-                   แจ้งให้ทราบเค้าโครงของเรื่องโดยย่อ
-                   ผลที่ผู้เรียนจะรับจากการดูสไลด์
-                   ภารกิจที่ผู้เรียนจะต้องปฏิบัติในระหว่างการชมสไลด์
-                   ภารกิจที่ผู้เรียนจะต้องปฏิบัติภายหลังการชมสไลด์
-                   ให้ชมสไลด์โดยสังเกตภาพแต่ละภาพอย่างชัดเจน
-                   อภิปราย  สรุป  หรืออาจมีกิจกรรมเสริมแล้วแต่กรณี
-                   ขณะฉายถ้าเป็นสไลด์ที่ไม่มีเทปบรรยายประกอบ  ครูจะต้องอธิบายประกอบด้วย  โดยการอธิบายต้องย้ำหรือเน้นสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนดูเป็นพิเศษด้วย  และก่อนนำมาใช้ครูต้อง Preview  ก่อน


ข้อจำกัดของสไลด์
1.            การถ่ายทำสไลด์อาจต้องอาศัยเครื่องมือที่ดีพอสมควรและผู้ถ่ายทำต้องมีความชำนาญพอสมควร  จึงจะได้ภาพที่สื่อความหมายได้ดี  สีสวยชัดเจน
2.            ภาพแต่ละภาพถ้าเก็บไม่ดีอาจสูญหายได้
3.            เป็นภาพนิ่งไม่มีการเคลื่อนไหว
4.            มีแต่ภาพไม่มีเสียง  ถ้าต้องการให้มีเสียงต้องใช้เทปคำบรรยายประกอบ


การเก็บรักษา
1.            อย่าให้สไลด์ถูกความร้อนมาก ๆ
2.            ใส่กล่องเก็บฝาปิดมิดชิด  เพื่อป้องกันฝุ่น  ความร้อน  ความชื้น
3.            เขียนชื่อเรื่อง  จำนวนแฟ้ม  เวลาที่ใช้ฉายไว้ที่หน้ากล่องให้ชัดเจน 
4.            ควรมีเนื้อหาของแต่ละแฟ้มประกอบกับสไลด์ด้วย  สำหรับใครก็ได้ที่ต้องการขอยืมใช้
5.            ถ้าเป็นสไลด์แบบเรื่องราวควรให้หมายเลข 1 – จบเรื่อง เพื่อจะได้ใช้อย่างถูกต้อง
6.            ถ้ามีสไลด์ชำรุด  ต้องซ่อม  ถ้าทิ้งไว้และนำไปใช้ฉายอาจทำให้เครื่องฉายติดขัดหรือฟิล์มสไลด์แผ่นนั้นอาจชำรุดเป็นรอยสกปรก
7.            ห้ามใช้นิ้วมือแตะฟิล์มจะทำให้เป็นริ้วรอยสกปรก
8.            ไม่ควรฉายสไลด์แต่ละภาพนานเกินกว่า  นาที 
เพราะอาจร้อนจัดและทำให้ฟิล์มกรอบ  สีซีดจาง
9.            ทำเครื่องหมายที่กรอบ  เพื่อสะดวกแก่การใส่ลงถาด

หลักการเลือกสไลด์ประกอบการสอน

1.            ตรงกับเนื้อเรื่องที่จะสอน
2.            เนื้อหามีความถูกต้อง
3.            ภาพแต่ละภาพสื่อความหมายได้
4.            สีสวย  ชวนดู  มีความคมชัด
5.            มีการประกอบภาพสวย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น