หน่วยที่6

นวัตกรรมการเรียนการสอน

ความหมายของ e-Learning
นั้นย่อมาจาก Electronic +  learning มีความหมายตรงตัวว่าการเรียนรู้
การเรียนการสอนที่ถูกถ่ายทอดเนื้อหาความรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์
Internet  หรือ  Intranet  สัญญาณโทรทัศน์  หรือสัญญาณดาวเทียม
ซึ่งผู้เรียนผู้สอนใช้เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่าง ผู้สอนและผู้เรียนด้วยกัน  
ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลมากมายที่มีอยู่ทั่วโลกได้อย่างไร้ขอบเขตจำกัด


                              
ลักษณะสำคัญของ E-learning ได้ดังนี้
  • Anywhere, Anytime and Anybody คือ ผู้เรียนจะเป็นใครก็ได้ มาจากที่ใดก็ได้ และเรียนเวลาใดก็ได้ตามความต้องการของผู้เรียน เพราะหน่วยงานได้เปิดเว็บไซต์ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งบริการจัดทำเป็นชุด CD เพื่อใช้ในลักษณะ Offline ให้กับโรงเรียนหรือสถานศึกษาที่สนใจ แต่ยังไม่พร้อมในระบบอินเทอร์เน็ต
  • Multimedia สื่อที่นำเสนอในเว็บ ประกอบด้วยข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ตลอดจนวีดิทัศน์ อันจะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
  • Non-Linear ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาที่นำเสนอได้ตามความต้องการ
  • Interactive ด้วยความสามารถของเอกสารเว็บที่มีจุดเชื่อม (Links) ย่อมทำให้เนื้อหามีลักษณะโต้ตอบกับผู้ใช้โดยอัตโนมัติอยู่แล้ว และผู้เรียนยังเพิ่มส่วนติดต่อกับวิทยากรผ่านระบบเมล์ ICQ, Microsoft Messenger และสมุดเยี่ยม ทำให้ผู้เรียนกับวิทยากรสามารถติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว

1.4.1 องค์ประกอบของ E-learning

            การเรียนแบบออนไลน์หรือ E-learning มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน โดยแต่ละส่วนจะต้องได้รับการออกแบบมาเป็นอย่างดี เพราะเมื่อนำมาประกอบเข้าด้วยกันแล้วระบบทั้งหมดจะต้องทำงานประสานกันอย่างลงตัว ซึ่งหลักของการศึกษาถูกนำมาใช้ในการสร้างระบบ e-learning ได้แก่

1.4.1.1 เนื้อหาของบทเรียน(Content)

เนื่องจากผู้เรียนมีขีดจำกัดของการเรียนรู้ในแต่ละช่วงเวลา จึงควรจำกัดขนาดของเนื้อหาให้พอดีส่งเสริมให้การเรียนในแต่ละครั้งได้ผลเต็มที่ เพราะถ้ามากไปก็เสียเวลา ถ้าน้อยไปก็ไม่ได้เนื้อหาสำหรับการเรียน การศึกษาไม่ว่าจะเป็นการเรียนอย่างไรก็ตาม เนื้อหาเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด E-learning ก็เช่นกัน เนื่องจาก e-learning นั้นถือว่าเป็นการเรียนรู้แบบใหม่สำหรับวงการศึกษาในประเทศไทย ดังนั้นเนื้อหาของการเรียนแบบนี้ที่พัฒนาเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงมีอยู่น้อยมากทำให้ไม่เพียงพอกับความต้องการในการฝึกอบรม เพิ่มพูนความรู้ พัฒนาศักยภาพทั้งของบุคคลโดยส่วนตัวและของหน่วยงานต่างๆ

                                                                        ระดับการถ่ายทอดเนื้อหา

สำหรับ e-Learning แล้ว การถ่ายทอดเนื้อหาสามารถแบ่งได้คร่าวๆ เป็น 3 ระดับ ด้วยกัน กล่าวคือ
 ระดับเน้นข้อความออนไลน์ (Text Online) หมายถึง เนื้อหาของ e-Learning ในระดับนี้จะอยู่ในรูปของข้อความเป็นหลัก e-Learning ในลักษณะนี้จะเหมือนกับการสอนบนเว็บ (WBI) ซึ่งเน้นเนื้อหาที่เป็นข้อความ ตัวอักษรเป็นหลัก ซึ่งมีข้อดี ก็คือ การประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการผลิตเนื้อหาและการบริหารจัดการคอร์ส 

           ระดับ Low Cost Interactive Online Course หมายถึง เนื้อหาของ e-Learning ในระดับนี้จะอยู่ในรูปของตัวอักษร ภาพ เสียงและวิดีทัศน์ ที่ผลิตขึ้นมาอย่างง่ายๆ ประกอบการเรียนการสอน e-Learning ในระดับนี้จะต้องมีการพัฒนา CMS ที่ดี เพื่อช่วยผู้ใช้ในการปรับเนื้อหาให้ทันสมัยได้อย่างสะดวก 

       

            ระดับ High Quality Online Course หมายถึง เนื้อหาของ e-Learning ในระดับนี้จะอยู่ในรูปของมัลติมีเดียที่มีลักษณะมืออาชีพ กล่าวคือ การผลิตต้องใช้ทีมงานในการผลิตที่ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญเนื้อหา ผู้เชี่ยวชาญการออกแบบการสอน (instructional designers) และ ผู้เชี่ยวชาญการผลิตมัลติมีเดีย (multimedia experts) ซึ่งหมายถึง โปรแกรมเมอร์ (programmers) นักออกแบบกราฟิค (graphic designers)และ/หรือผู้เชี่ยวชาญในการผลิตแอนิเมชั่น (animation experts) เป็นต้น e-Learning ในลักษณะนี้จะต้องมีการใช้เครื่องมือ (Tools) เพิ่มเติมในการผลิตและเรียกดูเนื้อหาด้วย 

1.4.1.2 ระบบจัดการบริหารการเรียนการสอน(Course Management System)


                เนื่องจากการเรียนแบบออนไลน์ หรือ E-learning เป็นการเรียนที่สนับสนุนให้ผู้เรียนได้ศึกษา เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ระบบบริหารการเรียนที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง  กำหนดลำดับของเนื้อหาในบทเรียน นำส่งบทเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้เรียน ประเมินผลความสำเร็จของบทเรียน ควบคุม และสนับสนุนการให้บริการทั้งหมดแก่ผู้เรียน จึงถือว่าเป็นองค์ประกอบ E-learning ที่สำคัญมาก เราเรียกระบบนี้ว่า ระบบบริหารการเรียน (LMS: e-Learning Management System)   ถ้ากล่าวโดยรวม LMS จะทำหน้าที่ตั้งแต่ผู้เรียนเริ่มเข้ามาเรียน โดยจัดเตรียมหลักสูตร, บทเรียนทั้งหมดเอาไว้พร้อมที่จะให้ผู้เรียนได้เข้ามาเรียน เมื่อผู้เรียนได้เริ่มต้นบทเรียนแล้วระบบจะเริ่มทำงานโดยส่งบทเรียนตามคำขอของผู้เรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์(อินเตอร์เน็ต,อินทราเน็ตหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์อื่นๆ)
ไปแสดงที่
Web browser ของผู้เรียน จากนั้นระบบก็จะติดตามและบันทึกความก้าวหน้า รวมทั้งสร้างรายงานกิจกรรมและผลการเรียนของผู้เรียนในทุกหน่วยการเรียนอย่างละเอียด จนกระทั่งจบหลักสูตร
            การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้เป็นกระบวนการที่ได้มาตรฐานเนื่องมาจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น




Courseware คอร์สแวร์


คอร์สแวร์หมายถึง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (คอมพิวเตอร์) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอบทเรียนจากเอกสารตำราให้อยู่ในรูปของสื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์ โดยเน้นการออกแบบซึ่งประโยชน์ของข้อได้เปรียบของคอมพิวเตอร์ในด้านการนำเสนอสื่อประสม (multimedia) และในด้านการให้ผลป้อนกลับแก่ผู้เรียนโดยทันที (immediate response) โดยที่ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้ตามความต้องการในลักษณะที่ไม่เป็นเชิงเส้นตรง (non-linear) และมีการออกแบบกิจกรรมการเรียนมีการโต้ตอบ(interaction) กับเนื้อหา รวมทั้งมีแบบฝึกหัดและแบบทดสอบให้ผู้เรียนสามารถตรวจสอบความเข้าใจ
LMS คืออะไร
LMS เป็นคำที่ย่อมาจาก Learning Management System หรือระบบการจัดการเรียนรู้ เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ จะประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ดูแลระบบ โดยที่ผู้สอนนำเนื้อหาและสื่อการสอนขึ้นเว็บไซต์รายวิชาตามที่ได้ขอให้ระบบ จัดไว้ให้ได้โดยสะดวก ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหา กิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยผ่านเว็บ ผู้สอนและผู้เรียนติดต่อ สื่อสารได้ผ่านทางเครื่องมือการสื่อสารที่ระบบจัดไว้ให้ เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ห้องสนทนา กระดานถาม - ตอบ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การเก็บบันทึกข้อมูล กิจกรรมการเรียนของผู้เรียนไว้บนระบบเพื่อผู้สอนสามารถนำไปวิเคราะห์ ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอนในรายวิชานั้นอย่างมีประสิทธิภาพ

LMS ประกอบด้วย 5 ส่วนดังนี้
1.             ระบบจัดการหลักสูตร (Course Management) กลุ่มผู้ใช้งานแบ่งเป็น 3 ระดับคือ ผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหารระบบ โดยสามารถเข้าสู่ระบบจากที่ไหน เวลาใดก็ได้ โดยผ่าน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ระบบสามารถรองรับจำนวน user และ จำนวนบทเรียนได้ ไม่จำกัด โดยขึ้นอยู่กับ hardware/software ที่ใช้ และระบบสามารถรองรับการใช้งานภาษาไทยอย่างเต็ม
2.             ระบบการสร้างบทเรียน (Content Management) ระบบประกอบด้วยเครื่องมือในการช่วยสร้าง Content ระบบสามารถใช้งานได้ดีทั้งกับบทเรียนในรูป Text - based และบทเรียนใน รูปแบบ Streaming Media

3.             ระบบการทดสอบและประเมินผล (Test and Evaluation System) มีระบบคลังข้อสอบ โดยเป็นระบบการสุ่มข้อสอบสามารถจับเวลาการทำข้อสอบและการตรวจข้อสอบอัตโนมัติ พร้อมเฉลย รายงานสถิติ คะแนน และสถิติการเข้าเรียนของนักเรียน

4.             ระบบส่งเสริมการเรียน (Course Tools) ประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้สื่อสารระหว่าง ผู้เรียน - ผู้สอน และ ผู้เรียน - ผู้เรียน ได้แก่ Webboard และ Chatroom โดยสามารถเก็บ History ของข้อมูลเหล่านี้ได้
ลักษณะของ LMS      
        1. กำหนดผู้ใช้งาน
        2. ระบบการสือสาร
        3. แหล่งอ้างอิง
        4. การตรวจและให้คะแนน
        5. การติดตามพฤติกรรมการเรียน
        6. การรายงานผล
        7. ระบบการสอน
        8. ความสามารถในการนำเสนอ Rich Media


        ส่วนประกอบระบบ LMS       
        1. ส่วนเนื้อหาในบทเรียน (Lecture and Presentation)
        2. ส่วนของการทดสอบในบทเรียน (Testing)
        3. ส่วนของการพูดคุยในห้องสนทนา (Chat)
        4. กระดานข่าว (Webboard)
        5. ส่วนของการติดต่อผ่าน E-mal
        6. ส่วนสนับสนุนการเรียนการสอน
             - การลงทะเบียนของผู้เรียน
             - การบันทึกคะแนนของผู้เรียน
             - การรับ-ส่งงานของผู้เรียน
            - การเรียกดูสถิติของการเข้าเรียน

ระบบจัดการข้อมูล (Data Management System)
 ประกอบด้วยระบบจัดการไฟล์และโฟลเดอร์ ผู้สอนมีเนื้อที่เก็บข้อมูลบทเรียนเป็นของตนเอง

1.3.3 CMS & LMS (Course Management System & Learning Management System)

CMS เป็นระบบสนับสนุนการเรียนการสอน และบริหารจัดการการเรียนการสอน แบบ Online หรือ ที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่า E - Learning นั่นเอง และในปัจจุบันนี้บางครั้งก็มักจะเรียกว่าLMS: Learning Management System ซึ่ง CMS หรือ LMS นี้ เป็นเครื่องมือ ที่ช่วยให้ผู้สอนสามารถ สร้างบทเรียน Online ได้อย่างรวดเร็วรวมทั้ง การจัดการเรียนการสอน
การติดต่อสื่อสารกับผู้เรียนตลอดจนการประเมินผลของผู้เรียนได้ อย่างสะดวก อีกทั้งยังเป็นระบบที่ช่วยในการจัดเก็บ
ข้อมูลให้เป็นระบบ ช่วยให้ผู้เรียนสามารถ ค้นหาบทเรียนได้รวดเร็วยิ่งขึ้นและ CMS นี้ ยังเป็นเครื่องมือ ที่ช่วยเสริมกระบวนการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพยิ่ง

การเรียนทางไกลโดยทั่วไป มักจะเป็นการเรียนด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องเข้าชั้นเรียนปกติ ซึ่งผู้เรียนจะเรียนจากสื่อการเรียนการสอนประเภทสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และสื่ออื่นๆการเรียนแบบ e-learning ก็เช่นกัน ถือว่าเป็นการเรียนแบบทางไกลแบบหนึ่ง แต่สิ่งที่สำคัญที่ทำให้ e-learning มีความโดดเด่นและแตกต่างไปจากการเรียนทางไกลทั่วๆ ไป ก็คือการนำรูปแบบการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง มาใช้ประกอบในการเรียนเพื่อเพิ่มความสนใจ ความตื่นตัวของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนให้มากยิ่งขึ้น เช่น ในระหว่างเรียนถ้ามีคำถามที่เป็นข้อทดสอบย่อยในบทเรียน เมื่อคำถามปรากฏขึ้น ผู้เรียนต้องเลือกคำตอบและส่งคำตอบกลับมายังระบบในทันที เหตุการณ์ดังกล่าว จะทำให้ผู้เรียนรักษาระดับความสนใจในการเรียนได้เป็นระยะเวลานานมากขึ้น นอกจากนี้ วัตถุประสงค์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการติดต่อแบบ 2 ทางก็คือใช้เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้ติดต่อ สอบถาม ปรึกษา หารือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตัวผู้เรียนกับครูอาจารย์ผู้สอนและระหว่างผู้เรียนกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนคนอื่นๆ

โดยเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารอาจแบ่งเป็น 2 ประเภทดังนี้
·       ประเภท real-time  ได้แก่ Chat(message, voice),  White Board/Text slide, Real-time Annotations, Interactive pool, Conferencing และอื่นๆ
·       ประเภท non real-time  ได้แก่  Web board, e-mail

1.4.2.1  ส่วนในการใส่เนื้อหาการบรรยายของผู้สอน(Slot for lecture note)

    ระบบบริหารจัดการรายวิชาควรจัดเตรียมพื้นที่ไว้ให้สำหรับเนื้อหารายวิชาโดยสามารถออกแบบในลักษณะที่ให้ผู้ใช้แบ่งเนื้อหาได้ตามช่วง (Session) การเรียน และให้ผู้ใช้สามารถเลือก font สีตัวอักษร ขนาดตัวอักษร หรือสามารถให้ผู้ใช้วางแฟ้มข้อมูล (post file) ซึ่งมีอยู่แล้วได้แก่แฟ้มเอกสาร (.doc) แฟ้มโปรแกรมการนำเสนอต่างๆ เช่น .ppt หรือ แฟ้มในรูปสื่อต่างๆ เช่น Smil template, แฟ้มในลักษณะ flash เป็นต้น

1.4.2.2  กระดาษข่าวเพื่อการอภิปราย

    ระบบบริหารจัดการรายวิชาควรเตรียมกระดานข่าวสำหรับการอภิปรายไว้ ซึ่งทั้งผู้เรียนและผู้สอนสามารถตั้งหัวข้อได้ มีการบอกรายละอียดได้ เช่น หัวข้ออะไร ใครเป็นผู้ตั้งหัวข้อ หัวข้อได้ถูกตั้งเมื่อไร  แต่ละหัวข้อมีผู้ตอบกี่คน จะไห้ส่งคำตอบเกี่ยวกับหัวข้อนั้นทาง E-mail หรือไม่

1.4.2.3ห้องสนทนา(Synchronous chat)

        ระบบริหารจัดการรายวิชาควรเตรียมห้องสนทนาแบบ Synchronous ส่วนใหญ่ระบบบริหารจัดการรายวิชาจะอนุญาตให้ผู้สอนสามารถสร้างห้องสนทนาได้เอง กำหนดห้องสนทนาได้ กำหนดการเข้าให้ห้องสนทนาได้โดยสามารถตั้งรหัสผ่านสำหรับเข้าห้องสนทนาได้

1.4.2.4  การทดสอบออนไลน์ (Online testing)

       ระบบบริหารจัดการรายวิชาควรเตรียมเครื่องมือในการสร้างแบบทดสอบไว้โดยอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะจัดให้อยู่ในช่วงการสอน (Session) ใด เมื่อเรียนเข้ามายังช่วงการสอนนั้นก็จะเจอแบบทดสอบนั้นเลย ในการสร้างเราสามารถกำหนดคะแนนได้ ว่าจะสร้างกี่ข้อ ให้คะแนนหรือไม่ให้คะแนนเต็มและคะแนนแต่ละข้อเท่าไร จะเลือกแบบทดสอบลักษณะใด เช่นลักษณะ multiple-choice                ลักษณะถูก-ผิด ลักษณะ checklist เป็นต้น และควรให้ผู้ใช้แก้ไข หรือเพิ่มเติมได้ในภายหลัง

1.4.2.5  อิเล็กทรอนิคส์เมลล์(Internal email)

        ระบบบริหารจัดการรายวิชาควรเตรียมเครื่องมือในการส่งข้อความไปยังสมาชิกคนอื่นๆ โดยควรอนุญาตให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนสามารถส่งได้จากภายในตัวของระบบได้เองเลย

1.4.2.6 การจัดการกับแฟ้มข้อมูล(File management)

ระบบบริหารจัดการรายวิชาควรเตรียมเครื่องมือในการจัดการไฟล์ที่สร้างขึ้นใหม่หรือแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่แล้วและเพิ่งวางขึ้นไป โดยควรมีเครื่องมือช่วยในการจัดเก็บไว้ให้เป็นหมวดหมู่และอนุญาตให้ผู้ให้สามารถเพิ่มได้  คัดลอก หรือลบได้         
    ส่วนประกอบรอง (Minor components) ซึ่งระบบบริหารจัดการรายวิชา พึงมีได้แก่ ส่วนประกอบดังต่อไปนี้

1.4.2.7 ส่วนประกอบพิเศษอื่น (Many other tools)

            ระบบบริหารจัดการรายวิชาควรเตรียมเครื่องมือประกอบอื่นๆ เช่น เครื่องมือให้ผู้ให้สร้างปฏิทินตารางการเรียน  เครื่องมือในหการค้นหาข้อมูล  ระบบช่วยเหลือ  ระบบปรับแต่งหน้าจอเบื้องต้น  ตัวอย่างเช่น อนุญาตให้เลือกรูปแบบตัวหนังสือ ตำแหน่งเมนู เป็นต้น

1.4.2.8 ส่วนจัดการการลงทะเบียนของผู้เรียน (Manage student enrollment)

            ระบบบริหารจัดการรายวิชาควรจัดเตรียมเครื่องมือในหารจัดการการลงทะเบียนของผู้เรียนโดยอนุญาตให้ผู้เรียนสามารถกำหนดรหัสผ่านในการเข้าเรียนได้เอง และแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้เอง

1.4.2.9ส่วนของการเรียกดูและบันทึกคะแนนของผู้เรียนโดยผู้สอน
(View and record student score - faculty)

            ระบบบริหารจัดการรายวิชาควรอนุญาตให้ผู้สอนสามารถเรียกดูคะแนนของผู้เรียนในแต่ละช่วงในการเรียน โดยควรจะแสดงให้เห็นคะแนนของผู้เรียนทุกคน โดยการคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ไว้ให้ หรือในรูปอื่นๆ ที่เข้าใจง่าย นอกจากนี้ควรอนุญาตให้ผู้เรียนเรียกดูเป็นรายบุคคล ในแต่ละช่วงการเรียนก็ได้  และควรอนุญาตให้ดาวน์โหลด (Download) ข้อมูลไปยังโปรแกรมตารางคำนวณ เช่น Microsoft Excel เพื่อคำนวณค่าเฉลี่ยหรือทางสถิติต่างๆได้

1.4.2.10 ส่วนของการเรียกดูคะแนนของผู้เรียนโดยผู้เรียน (View student score – individual student)

            ระบบบริหารจัดการรายวิชาควรกำหนดระดับอนุญาตให้ผู้เรียนมองเห็นคะแนน โดยกำหนดให้ผู้เรียนสามารถดูคะแนนได้หรือไม่ ดูเฉพาะของตัวเอง หรือ ดูทั้งชั้นได้

1.4.2.11 ส่วนของการเรียกดูสถิติการเข้าเรียน (View student progress tracking)

            ระบบบริหารการจัดการรายวิชาควรอนุญาตให้ผู้สอนตรวจสอบจำนวนผู้มาเข้าเรียน สถิติการเข้าใช้เวลาเข้าและเวลาออก สถิติลำดับของการเรียนหรือบทเรียนที่ผู้เรียนได้เลือกเรียน โดยกำหนดให้ผู้สอนสามารถกำหนดระยะเวลาของการเรียกดูได้ เช่น รายวัน รายเดือน รายปี และอนุญาตให้เรียกดูได้ในการเรียกแบบต่างๆ เช่น กราฟ เป็นต้น



1.4.1.4 แบบทดสอบ/วัดผลการเรียน

    ในการเรียนแต่ละครั้งจะต้องมีการประเมินผลที่สามารถวัดได้ว่าผู้เรียนสามารถผ่านเกณฑ์ทางการเรียนรู้ในระดับใด อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจหรือไม่โดยทั่วไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเรียนในระดับใด หรือวิธีใด ก็ย่อมต้องมีการสอบ/การวัดผลการเรียนเป็นส่วนหนึ่งอยู่เสมอ การสอบ/วัดผลการเรียนจึงเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้การเรียนแบบ E-learning เป็นการเรียนที่สมบูรณ์ ในบางวิชา จำเป็นต้องวัดระดับความรู้ก่อนสมัครเข้าเรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนในบทเรียน
หลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียนเองให้มากที่สุด ซึ่งจะทำให้

การเรียนที่จะเกิดขึ้นเป็นการเรียนที่มีประสิทธิภาพสูงสุด  เมื่อเข้าสู่บทเรียนในแต่ละหลักสูตรก็จะมีการสอบย่อยท้ายบท และการสอบใหญ่ก่อนที่จะจบหลักสูตร ระบบบริหารการเรียนจะเรียกข้อสอบที่ใช้มากากระบบบริหารคลังข้อสอบ
(Test Bank System) ซึ่งเป็นส่วนย่อยที่รวมอยู่ในระบบบริหารการเรียน (LMS: e-Learning Management System)
    สำหรับระบบบริหารคลังข้อสอบ มีความสามารถ เช่น
·       สอบออนไลน์ผ่าน web browser
·       นำสื่อมัลติมีเดียมาประกอบในการสร้างข้อสอบ
·       การรักษาความปลอดภัยทั้งในด้านการรับ-ส่งข้อสอบ
·       การกำหนดสิทธิการใช้งานระบบทำได้หลายระดับ
·       ผู้สอนเป็นผู้กำหนดรูปแบบรายงานผลการสอบ
·       การนำค่าสถิติมาวิเคราะห์ผลการทดสอบของผู้เรียน
·       สามารถวิเคราะห์ข้อสอบได้

e-Book
ก็คือเอกสารหรือสื่อสิ่งพิมพ์ต้นฉบับสำหรับใช้พิมพ์จากโปรแกรมจัดการเอกสารต่างๆ นำมาเปลี่ยนรูปแบบเป็นสื่อแบบใหม่ประเภทสื่อข้อมูล digital ที่สามารถศึกษาผ่านโปรแกรมตัวกลางหรือโปรแกรมที่ยอมรับโดยทั่วไป สามารถอ่านได้โดยง่าย สื่อข้อมูลที่ทำ
การเปลี่ยนแปลงนี้จึงเรียกว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่ง ebook ที่ได้รับการยอมรับจะมีอยู่ 3 รูปแบบนามสกุลคือ เอกสารนามสกุล .doc (มาตรฐานของ microsoft) , เอกสารนามสกุล .pdf (มาตรฐานของ adobe) และเอกสารที่แสดงเฉพาะข้อความนามสกุล .txt

digital media
ก็คือไฟล์ข้อมูลสื่อต่างๆที่ถูกรวบรวมจัดเก็บมาอยู่ในรูปของข้อมูล digital ซึ่งได้แก่ไฟล์เสียง (นามสกุล .wav .mid .ra เป็นต้น) ไฟล์ภาพยนตร์ (นามสกุล .mov .avi .rm เป็นต้น) ไฟล์รูปภาพต่างๆ (นามสกุล .jpg .gif .png เป็นต้น) ไฟล์ข้อมูลภาพเคลื่อนไหวต่างๆ

Library
หรือห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ที่เป็นแหล่งรวบรวมและให้บริการ e-book และสื่อ digital อื่นๆที่ใช้ในการศึกษา ค้นคว้า เพื่อการเรียนรู้ต่างๆ หรืออาจจะกล่าวได้ว่าห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ก็มีลักษณะเช่นเดียวกับห้องสมุดหนังสือทั่วไปนั่นเอง โดยอาจจะเป็นอีกส่วนหนึ่งของห้องสมุดหนังสือ รูปแบบการให้บริการเหมือนห้องสมุดทั่วไป โดยให้บริการผ่าน
เครือข่ายภายในของห้องสมุดเองและบริการผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

Virtual Lab
หรือห้องปฎิบัติการจำลอง ซึ่งเป็น web page หรือ โปรแกรมที่จัดสร้างขึ้น เพื่อใช้ทำการทดลอง ศึกษาวิธีการที่ใกล้เคียงกับห้องปฎิบัติการต่างๆ เช่น การทดลองทางเคมี ฟิสิกส์ ชีวะ ภาษา โดยออกแบบให้อยู่ในรูปของสภาพแวดล้อมสถานการณ์จำลอง หรือที่เรียกว่า simulation


ข้อดีสำหรับผู้เรียน E-learning

1 การมีปฏิสัมพันธ์ในการเรียน


การเรียนทาง E-learning เป็นการเรียนการสอนที่เรียกได้ว่าเหมือนกับการเรียนปกติในเรื่องของเนื้อหาการเรียน เพราะอย่าลืมนะครับว่า คนที่ทำบทเรียนก็คือคุณครูท่านเดิมของเรานั่นเอง แต่จะเป็นการเรียนโดยไม่ได้เห็นหน้ากันตลอดเวลาเท่านั้นเอง แต่ในเรื่องของการมีปฏิสัมพันธ์ การพูดคุยติดต่อระหว่างเรากับคุณครูก็ยังคงเหมือเดิม หรือมากกว่าเสียด้วยซ้ำ
ถ้าเป็นการเรียนในห้องเรียนปกติ เวลาเรียนเกิดข้อสงสัยขึ้นมา จะเกิดอาการไม่กล้าถาม เพราะกลัว หรือเกรงใจคนรอบข้าง
แต่ถ้าเป็นการเรียนแบบ  สามารถที่จะคลิกย้อนกลับไปเรียนใหม่ได้ ผู้สอนก็พูดใหม่อีกรอบโดยไม่มีใครเห็นหรือได้ยิน และถ้าต้องการถามหรือต้องการนัดหมายเป็นการส่วนตัวก็สามารถทำได้โดยการส่งอีเมล์ไปหาผู้สอน ผู้สนก็จะตอบกลับมา

2 เป็นรูปแบบการเรียนการสอนใหม่


การเรียนการสอนในโลกปัจจุบัน มีอยู่แต่ในห้องเรียนไม่ได้ โลกหมุนไป  ไหนต่อไหนแล้ว E-learning ก็สามารถตอบสนองความต้องการได้เป็นอย่างดี นักเรียนก็จะเรียนได้อย่างไม่เบื่อ เพราะมีการสาธิต มีการแสดงให้ดูด และมีการให้ทดลองทำจริงซ้ำกี่ครั้งก็ได้ จนกว่าจะชำนาญ แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับการออกแบบบทเรียน และการใช้เทคนิคต่างๆ ให้เหมาะสมของคนที่เป็นคนพัฒนาแบบเรียนนั้นด้วย

3 ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตัวเอง

            ผู้เรียนต้องพยายามทำความเข้าใจบทเรียนด้วยตัวเองพร้อมๆ ไปกับข้อมูลหรือแบบเรียนที่มีในคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นการฝึกการคิดให้เป็นระบบระเบียบอย่างหนึ่งของนักเรียนซึ่งในห้องเรียนปกติจะทำได้ยากหรือถ้าทำได้ก็จะเป็นเฉพาะนักเรียนในบางกลุ่มบางคน แต่ถ้าเป็น E-learningนักเรียนจะมีแนวโน้มและมีเปอร์เซ็นต์การใช้ความคิดมากขึ้น เพราะอย่างน้อยก็ไม่อายใครสามารถที่จะเรียนซ้ำแล้วซ้ำอีกได้ เหมือนถามให้คุณครูอธิบายซ้ำเป็นร้อยรอบโดยคุณครูจะมีอารมณ์เย็น อารมณ์ดีมาก สามารถตอบคำถาม
สามารถอธิบายได้โดยไม่หงุดหงิดเพราะเป้าหมายของการเรียนการสอนส่วนใหญ่ต้องการทำให้ผู้เรียนมีความรู้ตามที่สอน และได้ใช้ความคิดเข้าใจตามที่สอนเป็นหลักอยู่แล้ว

4 สะดวกสบาย จะเรียนเมื่อไร ที่ไหนก็ได้


เมื่อเป็นการเรียนด้วยตัวเองทางคอมพิวเตอร์แล้วนักเรียนก็สามารถเรียนเมื่อไร และที่ไหนก็ได้ คือถ้าไม่พร้อมก็ยังไม้ต้องเรียนอย่างเช่น ไม่สบาย หรือไม่สบายใจ เหนื่อย หรือแม้แต่หิว ก็พักผ่อนหรือทานอาหารให้อิ่มสบายก่อน แล้วค่อยเรียนก็ได้ ไม่มีใครบังคับ ถ้าไม่ได้   เรียนผ่านทางอินเตอร์เน็ต แบบเรียน ก็มักจะอยู่ในรูปของแผ่นซีดีรอม แผ่นเล็กๆ ซึ่งสามารถพกติดตัวไป หาคอมพิวเตอร์เรียนที่ไหนก็ได้ หรือแม้แต่ถ้าเป็นการเรียนผ่านทางอินเตอร์เน็ตก็ยิ่งดีใหญ่ สามารถไปไหนมาไหนโดยไม่ต้องมีแบบเรียนติดตัวเลย เพียงเข้าไปในโลกของอินเตอร์เน็ต ก็สามารถเรียนได้แล้ว เป็นมาตรฐานเดียวกันไม่ว่าเรียนจากที่ไหนของโลก

5 ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย


ถ้าเป็นการเรียนในห้องเรียนแบบปกติ ทุกคนจะต้องมาอยู่ที่เดียวกันจึงจะทำการเรียนการสอนกันได้ นักเรียนแต่ละคน บ้านไม่ได้อยู่ใกล้โรงเรียนกันทุกคน ต้องใช้เวลาในการเดินทาง และยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางอีกด้วยให้ประโยชน์เพราะบทเรียนจะเป็นมาตรฐานเดียวกัน
ไม่ขึ้นกับโรงเรียนว่าดัง หรือไม่ดังก็เรียนเหมือนกันหมด นักเรียนก็จะประหยัดเวลาในการเดินทางได้ ไม่เสียเงิน และไม่เสียแรง ปลอดภัยไม่ต้องเสี่ยงภัยกับการนั่งรถบนถนน

6 สามารถค้นข้อมูลเพิ่มเติมด้วยไฮเปอร์ลิงก์


เป็นการเรียนผ่านอินเทอร์เน็ต ดังนั้นถ้ามีการออกแบบบทเรียนที่ดี เมื่อมีการอ้างหรือแนะนำให้ไปอ่านอะไรเพิ่ม ผู้พัฒนาก็สามารถทำไฮเปอร์สิงก์นั้นได้ทันที คนที่เล่นอินเทอร์เน็ตบ่อยๆ เขาจะมีความอยากคลิกเจ้าตัวอักษรสีน้ำเงินที่มีขีดเส้นใต้เส้น

7 คุณสามารถเลือกเรียนได้ตามศักยภาพของตัวเอง


ในกรณีที่ เรียนไม่ทัน ไม่รู้เรื่อง หรือรู้อยู่แล้ว ไม่ไปเรื่องใหม่เสียที สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการเบื่อไม่อยากเรียน หรือเกิดอาการง่วงนอน  ระบบ  e-learning สามารถช่วยได้ เพราะนักเรียนสามารถกระโดดข้ามบทเรียนที่รู้อยู่แล้วไปเรียนเรื่องที่ต้องการรู้ หรือเรื่องที่ยากๆ ได้เลย ไม่ต้องเรียนเรื่องเดิมให้เสียเวลา และง่วงหน้าจอคอมพิวเตอร์อีก และสำหรับคนที่ไม่ค่อยรู้เรื่องก็สามารถเรียนแล้วเรียนอีก ได้


8 การรู้จักใช้เครื่องมือช่วยเหลือ (Sensitive Help หรือ Electronic Performance Support System)


ลักษณะของการมีระบบความช่วยเหลือเพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถสอบถามได้ เหมือนกับการเรียนในห้องเรียนที่นักเรียนมีปัญหาแล้วถามอาจารย์ แต่เป็นคำถามที่ถามคอมพิวเตอร์ แล้วก็ได้คำตอบมาผ่านทางคอมพิวเตอร์ เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนสามารถที่จะอยากรู้อยากเห็นอยากค้นหาคำตอบได้เพราะสามารถถามในระบบความช่วยเหลือนี้ได้ และการเป็นนักตั้งคำถามที่ดี สามารถนำไปใช้ในอนาคตในเรื่องอื่นๆ ได้ด้วย แต่ต้องขึ้นอยู่กับว่าอาจารย์ผู้เป็นเจ้าของหลักสูตร มีการออกแบบและมีคำถามคำตอบต่างๆ ไว้รองรับความต้องการนี้อย่างดีหรือไม่ แต่ถ้าเป็นตามมาตรฐานแล้ว

9 สามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ด้วย


การเรียนทาง  E-learning เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ ความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์ด้านอินเตอร์เน็ตได้แน่นอน เพราะถ้าใช้ไม่เป็น ก็เรียนไม่ได้ ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ด้านอินเทอร์เน็ตทุกวันนี้เป็นเรื่องธรรมดา คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตกลายเป็นมาตรฐานทั่วไปที่คนจะหางานทำได้ คนจะทำงานได้ควรจะเป็น ดังนั้นการเรียนผ่าน e-learning ก็จะช่วยให้นักเรียนได้ฝึกหาประสบการณ์การใช้งานคอมพิวเตอร์เพื่อนำไปใช้ในการหางานทำ ในการทำงานในอนาคตได้

10 สร้างความรับผิดชอบ ความมั่นใจในตัวเอง

เป็นการรวบรวมทุกข้อเข้ามาด้วยกัน คือ e-learning เป็นการเรียนด้วยตัวเอง อยากเรียนเมื่อไรก็ได้ ตอนไหนก็ได้ ที่ไหนก็ได้ เรียนบ่อยแค่ไหนก็ได้ อยากเรียนบทไหนก่อนหลัง เรียนซ้ำไปซ้ำมาอีกก็ได้ ผลก็คือ จะช่วยฝึกให้นักเรียนมีความรับผิดชอบในตัวเอง ไม่มีใครบังคับ ถ้านำไปใช้ให้ถูกต้อง
  • ยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนเนื้อหา และ สะดวกในการเรียน
              การเรียนการสอนผ่านระบบ e-Learning นั้นง่ายต่อการแก้ไขเนื้อหา และกระทำได้ตลอดเวลา เพราะสามารถกระทำได้ตามใจของผู้สอน เนื่องจากระบบการผลิตจะใช้ คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหลัก นอกจากนี้ผู้เรียนก็สามารถเรียนโดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่

  • เข้าถึงได้ง่าย

          
                ผู้เรียน และผู้สอนสามารถเข้าถึง e-learning ได้ง่าย โดยมากจะใช้ web browser ของค่ายใดก็ได้ (แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับผู้ผลิตบทเรียน อาจจะแนะนำให้ใช้ web browser แบบใดที่เหมาะกับสื่อการเรียนการสอนนั้นๆ)
 ผู้เรียนสามารถเรียนจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใดก็ได้ ในปัจจุบันนี้ การเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกระทำได้ง่ายขึ้นมาก และยังมีค่าเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่มีราคาต่ำลงมากว่าแต่ก่อนอีกด้วย

  • ปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยกระทำได้ง่าย

          
เนื่องจากผู้สอน หรือผู้สร้างสรรค์งาน e-Learning จะสามารถเข้าถึง server ได้จากที่ใดก็ได้ การแก้ไขข้อมูล และการปรับปรุงข้อมูล จึงทำได้ทันเวลาด้วยความรวดเร็ว

  • ประหยัดเวลา และค่าเดินทาง

              
    ผู้เรียนสามารถเรียนโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ โดยจำเป็นต้องไปโรงเรียน หรือที่ทำงาน รวมทั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องประจำก็ได้ ซึ่งเป็นการประหยัดเวลามาก การเรียน การสอน หรือการฝึกอบรมด้วยระบบ e-Learning นี้ จะสามารถประหยัดเวลาถึง 50% ของเวลาที่ใช้ครูสอน หรืออบรม

ประโยชน์ของการเรียนแบบออนไลน์เมื่อเทียบกับการฝึกอบรมในห้องเรียน :

ห้องเรียน/สถานที่อบรม
เครือข่ายออนไลน์
การเข้าถึง
จำกัด (ขึ้นอยู่กับขนาดของห้องเรียน) / ระยะเวลาที่เปิดสอนต่อวัน
24 ฃั่วโมงต่อวัน และ 7 วันต่อสัปดาห์
การวัดผล
วัดผลด้วยตัวเอง หรือครูผู้สอน
อัตโนมัติ หรือครูผู้สอน
การจดจำ
จำกัด ไม่สามารถทวนซ้ำได้ อาจจะต้องในการจดบันทึกแทน
สูง เพราะสามารถทวนซ้ำได้หลายๆ ครั้ง เท่าที่ต้องการ
ค่าใช้จ่าย
สูง เพราะค่าจ้างผู้สอนต่อครั้ง
ต่ำ ค่าจ้างครูผู้สอนครั้งเดียวในการผลิตเนื้อหา


ข้อเสียของ E-learning
  • ไม่สามารถรับรู้ความรู้สึก ปฏิกิริยาที่แท้จริงของผู้เรียนและผู้สอน
  • ไม่สามารถสื่อความรู้สึก อารมณ์ในการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง
ผู้เรียน และผู้สอน จะต้องมีความพร้อมในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
ทั้งด้านอุปกรณ์ ทักษะการใช้งานผู้เรียนบางคน ไม่สามารถศึกษาด้วยตนเองได้


        การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ ควรคำนึงถึงประเด็นต่างๆ ต่อไปนี้
  • ความพร้อมของอุปกรณ์และระบบเครือข่าย เนื่องด้วยการเรียนการสอนผ่านเว็บ เป็นการปรับเนื้อหาเดิมสู่รูปแบบใหม่ จำเป็นต้องมีเครื่องมือ อุปกรณ์ และระบบเครือข่ายที่พร้อมและสมบูรณ์ เพื่อให้ได้บทเรียนดิจิตอลที่มีคุณภาพ และทันต่อความต้องการเรียน ผู้เรียนสามารถเลือกเวลาเรียนได้ทุกช่วงเวลาตามที่ต้องการ ซึ่งในประเทศไทยพบว่ามีปัญหาในด้านนี้มาก โดยเฉพาะในเขตนอกเมืองใหญ่

  • ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ผู้เรียนและผู้สอน ต้องมีความรู้และทักษะทั้งด้านคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตพอสมควร โดยเฉพาะผู้สอนจำเป็นต้องมีทักษะอื่นๆ ประกอบเพื่อสร้างเว็บไซต์การสอนที่น่าสนใจให้กับผู้เรียน

  • ความพร้อมของผู้เรียน ผู้เรียนจะต้องมีความพร้อมทั้งทางจิตใจ และความรู้ คือ จะต้องยอมรับในเทคโนโลยีรูปแบบนี้ ยอมรับการเรียนด้วยตนเอง มีความกระตือรือร้น ตื่นตัว ใฝ่รู้ มีความรับผิดชอบ กล้าแสดงความคิดเห็นและศึกษาความรู้ใหม่ๆ


  • ความพร้อมของผู้สอน ผู้สอนจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้แนะนำ มาเป็นผู้อำนวยความสะดวก ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็น อยากเรียนรู้ กระตุ้นการทำกิจกรรม เตรียมเนื้อหาและแหล่งค้นคว้าที่มีคุณภาพ รวมทั้งความพร้อมด้านการใช้คอมพิวเตอร์ การผลิตบทเรียนออนไลน์ และการเผยแพร่บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

  • เนื้อหา บทเรียน เนื้อหาบทเรียนจะต้องเหมาะสมกับผู้เรียนให้มากกลุ่มที่สุด มีหลากหลายให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเลือกเรียนได้ด้วยตนเอง มีกิจกรรมวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เลือกใช้สื่อการสอนที่เหมาะสม และเหมาะสมกับความพร้อมของเทคโนโลยี การลำดับเนื้อหาไม่ซับซ้อน ไม่ก่อให้เกิดความสับสน ระบุแหล่งค้นคว้าอื่นๆ ที่เหมาะสม 





การจัดระบบการเรียนการสอนทางไกลในประเทศไทยในปัจจุบัน ได้ก้าวเข้าสู่การใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการนำเสนอ โดยมีรูปแบบการนำเสนอผลงานแบ่งได้ 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ
  • การนำเสนอในลักษณะ Web Based Learning
  • การนำเสนอในลักษณะ E-learning 
รูปแบบการพัฒนา E-learning ในประเทศไทย
ทั้ง WBI และ E-learning ที่มีอยู่ประเทศไทย พบว่าแต่ละหน่วยงานได้พัฒนาระบบ LMS/CMS ของตนเอง อิงมาตรฐานของ AICC เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแต่ละหน่วยงานก็ใช้ Web Programming แตกต่างกันออกไปทั้ง PHP, ASP, Flash Action Script, JavaScript ทั้งนี้อาจจะจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง
หรืออาจจะพัฒนาโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเป็นการส่วนตัวก็ได้ เนื่องจากปัญหาส่วนใหญ่จะมาจากการขาดงบประมาณและการสนับสนุนที่เป็นรูปธรรมจากผู้บริหาร


                  นอกจากนี้มีบริษัทภายในประเทศไทยที่พัฒนาซอฟต์แวร์บริหารจัดการการเรียนชื่อ Education Sphere (http://www.educationsphere.com/) คือบริษัท Sum System จำกัด ที่พัฒนา LMS Software ออกมาให้จำหน่ายและพัฒนาให้กับมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นหน่วยงานแรก
รวมทั้งศูนย์การศึกษาต่อเนื่องแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็พัฒนาโปรแกรมจัดการหลักสูตรเนื้อหาวิชา และการจัดการเรียนการสอนชนิด Web Based Instruction โดยตั้งชื่อโปรแกรมว่า Chula E-learning System (Chula ELS) ออกมาให้บริการเช่นกัน




ปัญหาการพัฒนา E-learning ในประเทศไทย
การพัฒนา WBI และ E-learning ในประเทศไทย ต่างก็ประสบปัญหาต่างๆ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
  • ปัญหาการสนับสนุนด้านงบประมาณและบุคลากร และการสนับสนุนจากผู้บริหาร
  • ปัญหาการขาดความรู้ด้านเทคโนโลยี E-learning และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
  • ปัญหาเรื่องราคาของซอฟต์แวร์ CMS/LMS และการลิขสิทธิ์
  • ปัญหาเรื่องทีมงานดำเนินการ ทั้งด้านความรู้, การคิดสร้างสรรค์ และเงินสนับสนุน
  • ปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาที่จะนำเสนอ ทั้งแหล่งที่มา, ผลตอบแทน และการละเมิดเมื่อเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์
  • ปัญหาเกี่ยวกับ Infrastructure ของประเทศ ที่ยังขาดความพร้อม
  • ปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการพัฒนาเว็บภาษาไทย ทั้งการเข้ารหัส, การใช้ฟอนต์ และรูปแบบ
  • ปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการจัดทำระบบ CMS/LMS 














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น